วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประวัติบ้านภูสวรรค์ ต.เสี้ยว อ.เมือง จ.เลย

ธันวาคม 15, 2556 0 Comments
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
     ภู           หมายถึง เนินที่สูงขึ้นเป็นจอมใหญ่ๆ 
     สวรรค์   หมายถึง โลกของเทวดา เมืองฟ้า
   ดังนั้น "ภูสวรรค์" จึงหมายถึง ภูเขาที่ขึ้นไปสู่เมืองฟ้าหรือภูเขาที่สวยงามดุจเมืองฟ้า แต่เดิมภูสวรรค์ ชื่อว่า "ภูเหี้ย" หลวงวิวิธสุรการ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลยในขณะนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็นภูสวรรค์ เพื่อเป็นนามมงคลและบ้านภูสวรรค์ก็อยู่ตีนเขาลูกนี้ จึงชื่อว่า "บ้านภูสวรรค์" เช่นเดียวกัน (เพราะภูขานี้สูงมาก ดุจก้อนเมฆ)




ประวัติและความเป็นมาของการตั้งหมู่บ้าน
     หมู่บ้านภูสวรรค์ตั้งขึ้นเมื่อประมาน พ.ศ.2437 (ตรงกับสมัยรัชการที่ 5) โดยนายคำตา และนางอ่อง ไชยสิทธิ์ (สมัยนั่นยังไม่มีนามสกุลใช้ ผู้เขียนสันนิฐานว่า น่าจะเป็นผู้สืบเชื้อสายเป็นคนตั้งนามสกุลให้มากกว่า) ได้อบพยพมาจากบ้านโคกน้ำสร้าง (น้ำบ่อที่ขุดลงไปในดิน) มาทำไร่ข้าวตามไหล่เขา เห็นว่าเป็นสิ่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์นานาชนิด ครั้งแรกตั้งชื่อว่า "บ้านเหี้ย" เพราะตามป่าเขาแถวนั้นมีตัวเหี้ยเยอะ จนถึง พ.ศ.2482 (ตรงกับสมัยรัชการที่ 8) หลวงวิวิธสุรการ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลยในขณะนั้น ได้ออกตรวจท้องที่ได้มาถึงหมู่บ้านเหี้ยจึงรู้สึกแปลกใจ เพราะคำว่าเหี้ย เป็นคำดุร้าย ไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้าน ท่านจึงได้ตั้งชื่อหมู่ให้แก่ชาวบ้านนี้ ว่า "หมู่บ้านภูสวรรค์" โดยเขาชื่อของภูเขานี้เป็นชื่อของหมู่บ้าน ซึ่งมีความไพเราะดี




ขอขอบคุณ
คำบอกเล่าของนายมาน นอศรี ในหนังสือ ความหมายและประวัติความเป็นมาของตำบล หมู่บ้าน สถานที่สำคัญในจังหวัดเลย ซึ้งเขียนโดย รศ.ปราณี บานชื่น ในปี พ.ศ.2527

ประวัติสระเวฬุวัน (หนองหล่ม) ต.เมือง อ.เมือง จ.เลย

ธันวาคม 15, 2556 0 Comments
 
   
     สระเวฬุวัน หรือ หนองหล่ม (ปัจจุบันนิยมเรียกกว่า "หนองหล่ม") มีนิยายเล่าเกี่ยวกับหนองหล่มว่า หนองน้ำแห่งนี้เคยเป็นหมู่บ้านที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ต่อมาได้มีชาวบ้านได้จับปลาไหลด่อน (ปลาไหลเผือก) ได้เท่าขามนุษย์ ยาวได้ 8 ศอก เมื่อจับได้แล้ว ก็เอามาแบ่งปันกันกินทั้งหมู่บ้าน เมื่อชาวบ้านได้กินปลาไหลเผือกแล้วก็พากันดีอกดีใจ ตีร้องฆ้องป่าวอย่างสนุกสนาน ครั้นพอตกตอนกลางคืน ดึกสงัดก็ได้เกิดฟ้าฝ่า ฟ้าร้อง ฝนตกอย่างรุนแรง จนพื้นดินและหมู่บ้านถล่มลงกลายเป็นหนอง บ้านเรือน ผู้คนได้จมหายไปกับแผ่นดิน อย่างอัศจรรย์ เลยกลายเป็นหนองน้ำมาจนถึงปัจจุบัน




      ปัจจุบันหนองหล่ม เป็นที่พักผ่อนย่อนใจของนักศึกษาและประชาชนทั่วไป (อยู่หลังมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย) และตอนเดือนห้า ชาวบ้านแถวนี้ก็มีประเพณีการจับปลาในหนองน้ำแห่งนี้ ซึ่งทำให้คนในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง ได้มาปบประสังสรรกัน ก่อให้เกิดความสาัมัคคีของคนในท้องถิ่น ทว่ามีแต่การจับปลา แต่ไม่มีการปล่อย ก็อาจจะทำให้หนองน้ำแห่งนี้ขาดความสมดุลทางชีวภาพได้....

(ศาลาริมน้ำ เหมาะสำหรับการมาอ่านหนังสือ หรือพักผ่อน)


ข้อมูลเพิ่มเติม
ปราณี  บานชื่น. (2527). ความหมายและประวัติความเป็นมาของการตั้งชื่อตำบล หมู่บ้านและสถานที่สำคัญ ในจังหวัดเลย. (มมพ.)

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประวัติตระกูล "สุวรรณพันธ์" โดยประดิษฐ์ สุวรรณพันธ์

ธันวาคม 10, 2556 0 Comments



     ที่จริงข้าพเ้จ้ามีเพื่อนคนหนึ่ง ที่เรียนวิทยาลัยครูเลย ด้วยกัน (มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย) จึงเผลอไปอ่านเว็บบอร์ดอันหนึ่งเชื่อว่า "เล่าให้ฟังโดยประดิษฐ์ สุวรรณพันธ์" ซึ่งกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของตระกูล "สุวรรณพันธ์" ข้าเจ้าเห็นว่าดี และเป็นประโยชน์จึงนำมาเผยแพร่ในเว็บนี้ เพื่อเป็นการช่วยบอกเล่าให้ลูกหลานตระกูลสุวรรณพันธ์ ได้ทราบที่มา โดยขอนำคำสัมภาษณ์ในเว็บบอร์ดดังกล่าวมาเผยแพร่โดยไม่มีการตัดแปลงเสริมแต่งใดๆ เพื่อให้คงไว้ซึ่งเจตนารมย์ของผู้บอกเล่า 

     เมื่อต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  มีการกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายแม่นำโขง  ซึ่งก็คือ ประเทศลาวในปัจจุบัน ชาวผู้ไทย จากเมืองต่างๆเช่นเมืองพวน เมืองบก เมืองวัง เมืองเซโปนได้ถูกกวาดต้อนมาสร้างบ้านสร้างเมืองทางฝั่งขวาแม่นำโขงกลุ่มผู้ไทย เมืองวัง ที่อพยพข้าแม่นำโขงมาทางฝั่งขวา 
       ประมาณปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรพบุรุษต้นตระกูลสุวรรณพันธ์รวมอยู่ด้วย ข้ามแม่นำโขงมาขึ้นฝั่งแถบที่เป็นจังหวัดมุกดาหารปัจจุบันทวดของเราไม่สามารถสืบถามได้ว่าชื่ออะไร  เสียชีวิตเมื่อไร คิดว่าคงจะเสียชีวิตตั้งแต่ยังตั้งบ้านเรือนอู่ทางเมืองวัง  แต่ก็สามรถจำได้เมื่อพ่อเล่าให้ฟัง 
ถึงสมัยคุณปุ่คุณย่าของผู้เล่าเท่านั้น รุ่นคุณปู่ของผู้เล่า  มีพี่น้อง 6 คน หญิง 2  คน ชาย 4 คน 
      เมื่อถึงรัชการที่ 6 ได้ตั้งนามสกุล สุวรรพันธุ์ แปลงว่า เชื้อดี  แนวดี  พันธุ์ดี  ใครก็ต้องการเป็นผู้นำครอบครัว  ต่อมาเขียนไป เขียนมา สระ อุ หายไป เหลือแต่ สุวรรณพันธ์  การอพยพคราวนั้น  เจ้าเมืองมุกดาหารในเวลานั้น ให้ชาวผู้ไทย อพยพไปทางทิศตะวันตก ที่พื้นที่เป็นภูเขา เดินทางตามสายห้วยบังอี  ลัดป่าดงมาทางบ้านคำเขือง เหมืองบ่าไปหาทำเลที่พอสร้างบ้านได้ คนภูไทยชอบอยู่ใกล้ภูเขา และลำห้วย เพราพมีความถนัดทางการนำนา ทำไร่ ปลูกม่อน ปลูกคราม ซึ่งก็คือเมืองหนองสูง เมืองคำชะอี ในครั้งต่อมา  และยังมีคนผู้ไทยอีกหลายกลุ่มที่อพยพมาต่างเวลา ต่างสถานที่ทำกิน เช่นทางเมืองเว หรือเลณูนคร  เมืองพรรณานิคม  เมืองวาริชภูมิ เมืองกุดสิม  เมืองแซงบาดาลเมืองภูแล่นช้าง  เมืองมหาชัย  เมืองเสนางนิคม  นี่เอ่ยถึงแต่ผู้ไทยที่อาศัยในภาคอีสานเท่านั้น
     มาถึง 6 พี่น้องต้นตระกูล สุวรรณพันธ์     คือ  
                                    1.ย่าโพ  สุวรรณพันธ์  แต่งงานไปใช้นามสกุล  แสนโสม                                                                           2.ปู่เกตุ  สุวรรณพันธ์                                                                                              
                                3. ปู่แก้ว  สุวรรณพันธ์    (ปู่ของผู้เล่า)                                                                     
                                4.ย่าก้อน  สุวรรณพันธ์      แต่งงานไปใช้นามสกุลห้วยทราย                                  
                                5.ปู้แสง   สุวรรณพันธ์                                                                                             
                                6.ปู้จารย์ธรรม  สุวรรณพันธ์

ทั้งหกพี่น้อง อพยพย้ายถิ่นจากเมืองวัง พร้อมกับผู้ไทยตระกูลอื่นมาก เมื่อขึ้นฝั่งโขงทางเมืองมุกดาหาร  ได้สั่งให้ผู้ไทยอพยพต่อไปทางตะวันตก ตามสายห้วยบังอี  คือหมู่บ้านนากอก  กกแดง  อุ่มไผ่ คำอีโอก โคกกลาง  คำพี้ ป่าแสด บ้านแวง บ้านเป้า บ้านภู กลุ่มนี้อาศัยลำห้วยพุง ห้วยค้อ ที่ราบระหง่าวภูผาแดง กับภูผากูด  ภูจอก้อ สร้างบ้าน  แปงเมืองสืบมา   ส่วนที่มาตามสายบังอี คือ นาโด่ หนองนำเต้า โคกโป่งเปือย           นาตะแบง  ผาขาม วังไฮ  นาหนองแคน  หนองแต้  นาคันแท ป่าเม็ก  หนองสูง หนองโอ บ้านงิ้วเก่า  วังนอง และบ้านคำพอก  ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอหนองสูง  ส่วนกลุ่มอพยพต่อไปตามสายห้วยคันแทใหญ่ คันแทน้อย เป็นบ้านคำชะอี  นาปุ่ง ศรีมงคล  โนนสว่าง  แก้งช้างเนียม  ส่วนกลุ่มหนึ่งอพยพตามลำห้วยทราย แยกจากห้วยบังอี  ไปสร้างบ้านสร้างเมืองเอ็ดนา เอ็ดไฮ้ คือบ้านห้วยลำโมง บ้านกลาง บ้านคำบก บ้านบาก บ้านห้วยทราย  ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอคำชะอี
หกพี่น้อง  ไม่ได้อพยพมาพร้อมกับกลุ่มที่มาทางสายห้วยบังอี่  ด้วยเหตุบรรพบุรุษทางฝั่งซ้ายที่เมืองบก เมืองวัง เป็นข้ารับใช้เจ้าขุนเจ้าเมือง ด้อยผญาปัญญา จึงไม่ได้รับอนุญาตให้อพยพปะปน 
มากับกลุ่มเจ้าฟ้าเจ้าเมือง  จึงเดินทางรอนแรมผ่านป่าดงเสือ  ดงช้าง มาทางบ้านคำอาฮวน บ้านคำเขือง เหมืองบ่า นาหัวภู นาโสก เเหล่าป่าเด นาบอน  เลียบภูคันใดระหว่างบ้านบาก กับบ้านคำชะอี จนถึงหนองกะปาด มีนำ มีกะปาดมาก(สัตว์ครึ่งบกครึ่งนำคล้ายกบ ตัวเล็ก ขายาว ตีนเหนียว ต้มป่น แซ่บหลาย)จึงตั้งบ้านสร้างเมื่องทำไร่ ทำนา ตามที่ราบตีนภูผากูด ภูคันใด มาจนทุกวันนี้ อาศัยห้วยกลาง หัวยซัน  ห้วยสายนา สาขาห้วยคันแท เป็นแหล่งนำเพื่อการเพราะปลูก ระหว่างอพยพมาถึงบรืเวณ บ้านเหล่าป่าเปด  เห็นเป็นที่อุดมสมบูรณ์  มีตาน้ำ สังเกตุถ้ามีป่าบอน ที่นั่นมีน้ำ) มีสายห้วย  ปู่แสง  น้องคนที่ 5  บอกพี่ๆ และน้องว่า จะปักหลักทำไร่ ทำนา สร้างบ้านร่วมกับพี่น้องชาวผู้ไทยกลุ่มอื่นที่มาถึงก่อนแล้ว  ปู้แสงตั้งนามสกุล สุวรรณพันธ์ เหมือนพี่น้องทุกคน  จึงมีลูกหลานสุวรรณพันธ์ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน กำนันกาสิน  สุวรรณพันธ์ พร้อมลูกหลานที่บ้านเหล่าป่าเปด ตำบลนาโสก  อำเภอเมืองมุกดาหาร  คือลูกหลาน เหลน ปู่ แสง  สุวรรณพันธ์
อีก 5  พี่น้อง   อพยพต่อไปอีก ผ่านป่าเขา ดงทึบแสนอันตราย ผ่านบ้านนาบอน เลอะเลียบภูผาผึ่ง ภูไม้ไร่ ข้ามห้วยทราย มาทางบ้านบาก ข้ามภูคันได เห็นทำเลดี มีภูเขาขนาบสองข้าง พี้นที่ราบมีห้วยกลาง ห้วยซัน และเลือกทำเลสร้างบ้านที่หนองกะปาด ทางทิศเหนือของโรงเรียนในปัจจบัน  สร้างบ้าน สร้างที่อยู่อาศัย  บุกป่า ถางไม้ ทำการเกษตรเรื่อยมา ชุมชนเจริญมั่นคง ขึ้นสร้างวัด การอพยพคราวนี้มีบรรพบุรุษตระกูลแสนโสม มาพร้อมกัน  จึงมีการแต่งงานกันไปมาระหว่างสุวรรณพันธ์ กับแสนโสม เท่านั้น
อยู่มาหลายปี  ปู่จารย์ธรรม ซึ่งเป็นโสดอยู่ เนื่องจากบวชนาน ลาสิกขา ก็ขอลาพี่ลาน้องไปทำมาหากินทางแดนไต้ คนสมัยนั้นเรียกว่าไปไทย  ในระยะนั้นเมืองสาเกตุ หรือเมืองร้อยเอ็ด  กำลังเจริญรุ่งเรือง  ปู่จารยธรรม จึงเดินทางไป  เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก จึงขาดการติดต่อกับพี่ๆ  สมัยก่อนไปไทย เมื่อกลับมาจึงรู้ว่ามีชีวิตอยู่ ปู่จารย์ธรรมหายเงียบไปตั้งแต่วันนั้นไม่กลับมาที่บ้านหนองกะปาดอีกเลย  แต่ปัจจุบันทราบว่ามีผู้ใช้นามสกุล สุวรรณพันธ์ อยู่มากที่อำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด และศรีสะเกษ 
       ขอให้เป็นลูกหลาน เหลน หลอน ของปู่แสงด้วยเถอะ  ฝากให้ลูกหลานช่วยกันสืบค้นต่อด้วยนะครับ  ผู้เล่าอายุมากแล้ว

        นี้ก็คือที่มาของนามสกุล"สุวรรณพันธ์" นะครับ ต้องขอขอบพระคุณ คุณประดิษฐ์ สุวรรณพันธ์ ที่ได้เขียนเนื้อหาลงในเว็บบอร์ด http://misterfriendship.com/th/site/home_board_read.asp?id=195&boardid=10750&pagemain=1&countvisitor=yes เพื่อให้ลูกหลานได้รู้จักที่ไปที่มาของนามสกุล ทำให้เกิดความรู้สึกรัก และมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับพี่น้องร่วมตระกูล ผู้เขียนขออภัยโดยไม่ได้แจ้งขออนุญาติเจ้าของเรื่องที่นำมาเผยแพร่ แต่เจตนาคือต้องการให้ลูกหลานได้รู้จักที่มาของตัวเอง หาผิดพลากประการใด ขอความกรุณาแจ้งมายังเว็บไซต์ได้ที่ ช่องแสดงข้อความด้านล่างและผู้เขียนจะปรับปรุงต่อไปครับ

ครั้งแรกที่เมืองเลย

ธันวาคม 10, 2556 0 Comments


     ก่อนอื่นขอบอกท่านผู้อ่านว่า ข้าพเจ้าไม่ค่อยรู้จักจังหวัดเลยสักเท่าไหร่ ทั่งๆที่อยู่ห่างกันไม่มาก (บ้านเกิดของข้าพเจ้า อยู่ที่ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น) ข้าพเจ้าเคยมาเมืองเลยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ เกือบ ๕ ปี ได้มาโดยการทัศนศึกษา เมื่อมาถึงผานกเค้า เข้าใจผิดคิดว่าภูกระดึง เป็นเวลานานกว่าจะรู้ว่าไม่ใช่
     การมาในครั้งนั้นข้าพเจ้ายังไม่ได้ต้องมนต์เสน่ห์เมืองเลยเท่าไหร่นัก เพราะเมืองเลยในสมัยนั้นยังไม่บูมเหมือนสมัยนี้ จนถึงเมื่อข้าพเจ้าสอบติด  คณะครุศาสตร์ ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย คงเป็นเพราะบุญเก่าหนุนนำพาละมัง ข้าพเจ้าจึงได้เลือกมาเรียนที่นี่ ทั้งๆที่สอบติดได้หลายที่ แต่ไม่ไป จนข้าพเจ้าได้เข้ามาเรียนจริงๆ ข้าพเจ้าถึงรู้ว่าเมืองเลย หรือจังหวัดเลยมีสิ่งที่สวยงาม วัฒนธรรมที่ยังคงเป็นเอกลักษณ์ และธรรมมชาติที่ยังสมบูรณ์อยู่มากมาย 


    เมืองเลยเริ่มเข้ามาอยู่ในความคิดของข้าพเจ้าอีกครั้ง เพราะถ้าดูจริงๆแล้ว เมืองเลยเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ สถานที่หลายแห่งถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน อาทิเช่น พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย บ้านนาอ้อ แก่งคุดคู้ หลายที่มาก ถ้าจะศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์จริงๆ คงยืดยาวมากเลย ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ อัตลักษณ์ของพื้นที่ไม่เหมือนใคร มีภูเขามากมายจนได้รับสมญานามว่า "เมืองแห่งทะเลภูเขา" รวมทั้งอุณภูมิมีความหนาวเย็นตลอดปี
     หลายคนที่มารับราชการ มาทำงาน หรือมาศึกษา ก็ไม่ได้กลับไปบ้านเกิดตัวเอง หากแต่มาตั้งหลักปักฐานที่เมืองเลยกันหมด แม้แต่ ผศ.รื่นเริง ยศวิไล (อาจารย์ของข้าพเจ้าเอง) เป็นคนขอนแก่น เมื่อเกษียณอายุราชการก็กลับมาอยู่เมืองเลยชะงั้น จนมีหลายคนเคยกล่าวไว้ว่า "มาเมืองเลยได้อยู่เลย"
     จนมีคีตกวี ได้ประพันธ์บทกลอนไว้ หลังจากที่ได้มาเที่ยวภูกระดึง คีตกวีคนนี้ไม่ใช่ใคร อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์นี้เอง โดยท่านประพันธ์ไว้ ดังนี้ 
"มาเมืองเลย ใครเลย จะเลยลับ
เลยไปกลับ ใครเอ่ย ที่เลยหลง
มาเมืองเลย ใครเลย ลืมเลยลง
ขอใจจง อย่าพราก จากเลยเลย"

     สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง ยังมีความคิดว่าอยากจะอยู่เลย หากมีโอกาสเอื้ออำนวย และบุญหนุนนำ สำหรับที่ใครยังไม่เคยมาที่เมืองเลย หรือจังหวัดเลยแห่งนี้ ลองมาดูสิครับ เมืองเลยมีหลายสิ่งหลายอย่างที่จังหวัดอื่นไม่มี รวมทั้งภาษาที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากหลวงพระบาง สปป.ลาว ท่านมาแล้วท่านจะติดใจและหลงเสน่ห์เมืองเลย จนไม่อยากจะกลับเลย ทีเดียว......

This morning on Phu-Suan Sai in Loei,Thailand

ธันวาคม 10, 2556 0 Comments
   After studying hard, it's the holidays again.Today I wanted to spend the night and see the stars pretty natural and important to strike cold anymore.The author has chosen to Phu Suan Sai because the nature of education. And Contemporary History of Thailand. It is also not far away Over a hundred and fifty kilomette form Loei Rajabhat University To the national office. 

   When it comes to automotive industry Phu Suan Sai National. I have to find a tent camp for the night.But many a disagreeable tattoo. Last but not resting for the night once. Not far from the shop bathroom, welfare 

  When did this for the night. I was walking on the park. (The author does not go up at the hill 1428, is the tallest tent in the east), because he had another 5 kilometers and the author had reached almost dusk.


   The atmosphere on the park Suitable for families Smm Elderly to breathe the atmosphere of nature. Escape from the chaos of city air pollution, car fumes.



   The image above, this is the tent of the highest in the Northeast.That is, the 1408 Hill of  battlefield of Ban-Rom-Kao (Between Thai and Lao) in 1889 
   After overnight successfully The author was patrolling the park to almost full everywhere. And visited tourist attractions along the way back. I arrived very tired. I have class tomorrow The chance to listen to their experiences with me again.

Art Jeerapan Karapaksee





เช้านี้ที่ภูสวนทราย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย

ธันวาคม 10, 2556 0 Comments
   หลังจากเรียนมาอย่างหนักก็ถึงวันหยุดสักที (ปัจจุบันผู้เขียนเรียนอยู่ปี 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย) วันนี้คิดว่าอยากจะไปค้างคืนและดูธรรมชาติ ดูดาวสวยๆ และที่สำคัญได้ไปโต้ลมหนาวสักที (อยู่หอพักก็หนาวเต็มทน) ผู้เขียนเลยเลือกไปที่ภูสวนทราย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย เพราะเป็นสถานที่ศึกษาธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของไทย เราด้วย
   การเดินทางก็ไม่ไกลนัก ร้อยห้าสิบกว่ากิโลเมตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถึงที่ทำการอุทยาน เส้นทางลำบากมาก โค้งหักศอกลงเขา ตรงก่อนเข้าตำบลนามาล อำเภอนาแห้ว (รู้แ้ล้วละว่าทำไมถึงเป็นพื้นที่สีแดงในสมัยก่อนเพราะทางการเข้าถึงได้อยากนี้เอง) 
    (คนในภาพไม่ใช่ผู้เขียนนะครับ)

   เมื่อมาถึงที่ทำการอุยานแห่งชาติภูสวนทราย ก็ได้มีการหาที่พักแรมสำหรับกางเต็นท์นอนคืนนี้ แต่เลือกมาหลายที่ไม่ถูกใจสักที่ แต่สุดท้ายก็ได้ที่พักผ่อนสำหรับคืนนี้สักที อยู่ไม่ห่างจากร้านค้าสวัสดิการและห้องน้ำเท่าไหร่เลยเลือกตำแหน่งนี้






   เมื่อได้ที่พักสำหรับคืนนี้แล้ว ก็ได้เดินชมธรรมชาติสวยๆบนอุทยาน (ผู้เขียนไม่ได้ขึ้นไปพักที่เนิน ๑๔๒๘ ที่เป็นจุดกลางเต็นท์ที่สูงที่สุดในอีสาน) เพราะต้องขึ้นเขาอีก ๕ กิโลเมตร และผู้เขียนก็มาถึงเกือบจะค่ำ



(ผังอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย)



   บรรยากาศบนอุทยาน เหมาะสำำหรับพาครอบครัว ผู้สูงอายุมาสูดบรรยากาศแห่งธรรมชาติ หนีจากความวุ่นวายของเมือง ควันรถ มลพิษทางอากาศ เพราะว่ารถยนต์สามารถนไขึ้นมาจนถึงจุดพักแรมได้เลย (ยกเว้นเนิน ๑๔๐๘) เชื่อกันว่าหากใครได้มียลที่นี้ ปีละครั้งถือเป็นกำไรชีวิตก็เป็นไปได้ หรือเคยได้ยินว่า "พักเขาค้อหนึ่งคืน อายุยืนหนึ่งปี" ที่นี่ก็ไม่ต่างจากเขาค้อเหมือนกันเพราะอากาศเย็นมาก ใครที่จะมาตามผู้เขียนกรุณานำผ้าห่มมาเยอะๆด้วยนะครับ



   ภาพข้างบนนี้เองเป็นจุดกางเต็นท์ที่สูงที่สุดในอีสาน หรือ เนิน ๑๔๐๘ หอตรวจการณ์สมรภูมิบ้านร่มเกล้า ในพ.ศ.๒๕๓๑ ซึ่งมีความสำคัญในกาีรปฏิบัติการโจมตีฝ่ายตรงข้าม ที่เนิน ๑๔๒๘ ซึ่งเป็นฐานทัพสำคัญของฝ่ายตรงข้ามอีกด้วย 
   หลังจากค้างคืนเรียบร้อยแล้ว ทางผู้เขียนก็ได้ตะเวนเที่ยวในอุทยานแห่งนี้จนเกือบครบทุกที่ และแวะเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆขากลับ ตามเส้นทาง นาแห้ว-ด่านซ้าย และด่านซ้าย-เลย จนมาถึงที่พักก็เหนื่อยมาก เพราะพรุ่งนี้มีเรียน ไว้โอกาสหน้าจะมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังต่อนะครับ


  

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระธาตุดินแทน

ธันวาคม 09, 2556 0 Comments

 พระธาตุดินแทน สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๑๔๖ หลังจากที่ พระสงฆ์รูปหนึ่งเดินทางธุดงมาจากจังหวัดนครพนม ได้เห็นชาวบ้านกราบไหว้ ผีสางเทวดา งมงายในเรื่องไสยศาสตร์ มีการนำสัตว์มาบูชายัญ พระสงฆ์รูปนั้นได้นำชาวบ้านออกจากความเชื่องมงาย โดยการเทศนาสั่งสอน จนในที่สุดชาวบ้านเกิดศรัทธา และพระสงฆ์รูปนั้นก็ได้สั่งให้ชาวบ้านเลิกเชื่องมงาย โดยได้พาชาวบ้านนำดินมาถมกลายเป็นพระธาตุโดยให้ชาวบ้านถือปฏิบัติตนสามข้อคือ ๑.ห้ามผิดศีล ๒.ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ๓.ห้ามเล่นไสยศาสตร์
   ปัจจุบันพระธาตุดิแทนเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านแสงภา ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย และหมู่บ้านใกล้เคียง

                   




ประวัติ เติม วิภาคย์พจนกิจ

ธันวาคม 09, 2556 0 Comments




  เติม  วิภาคย์พจนกิจ ถือกำเนิดในตระกูลท้าวเพีย ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองผู้นำท้องถิ่นแบบจารีตตั้งเดิมของเมืองอุบลราชธานี หัวเมืองเอกในภาคอีสาน บิดา คือ ท้าวหนูเล็ก  สิงหัษฐิต ผู้ซึ่งต่อมาเป็นอำมาตย์ตรีพระวิภาคย์พจนกิจ กรมการเมืองอุบลราชธานีสมัยเริ่มแรกของระบบเทศาภิบาล  เลขานุการส่วนพระองค์ของกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมฑลลาวกาว และ นายอำเภอพิบูลมังสาหาร
   กล่าวกันว่าตระกูลสิงหัษฐิต สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าตา แห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู ด้วยเหตุดังกล่าวจึงนับอยู่ในสายสัมพันธุ์ทางเครื่อญาติกับตระกูลท้าวเพียหัวเมืองต่างๆจำนวนมากในบริเวณลุ่มแม่น้ำชี-มูลตอนล่างและรวมทั้งกับตระกูลเจ้าและท้าวเพียของลาวตอนล่าง โดยเฉพาะสายตระกูลของเจ้านครจัมปาศักดิ์
   เติมเกิดเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๔๙ ที่บ้านในตัวเมืองอุบลราชธานี ได้รับการศึกษาชั้นต้นและมัธยมในระบบการศึกษาแบบใหม่ของไทยจากโรงเรียนในตัวเมือง หลักจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ คือไซ่ง่ิอนและฮานอย (พ.ศ.๒๔๖๘-๒๔๗๕) หลังจากจบการศึกษาทางด้านวิศวกรรม ก็ได้กลับมารับราชการที่ประเทศไทย และเกษียณอายุราชการจากกรมทางหลวงในปี พ.ศ.๒๕๐๙ และถึงแก่กรรมเมื่อ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๔ และมรดกที่สำคัญที่ ท่านได้มอบให้ไว้แก่วงการศึกษาไทย คือหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน เล่ม ๑-๒

**คัดลอกข้อความบางส่วนจาก หนังสือประวัติศาสตร์อีสาน