วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

เนื้อเพลงมาร์ชมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

มกราคม 31, 2557 0 Comments

คำร้อง/ทำนอง อ.เกษม รักษาเคน

เกิดมาเป็นคน เรามั่นฝึกตนทำแต่ความดี

รักมั่นในเพื่อนพ้องน้องพี่ รักเกียรติศักศรีแห่งสถาบัน
จริยธรรมงามล้ำเลอเลิศ คุณธรรมเราเทอดเกิดคุณค่าอนันต์
สามัคคีมีวินัยทั่วกัน เราจิตผูกพันราชภัฏเลย

เราศิษย์สถาบัน จิตบากบั่นไม่หวั่นปวงภัย

ด้วยปรัชญาปณิธานยิ่งใหญ่ เราสร้างสุขสดใสให้เขตทุ่งขุมทอง
ปัญญาเป็นสิ่งประเสริฐสุดเปรียบดังอาวุธเคียงคู่กายเราผอง
คิดและทำในสิ่งดีพี่น้องเรารักทุ่งขุมทองเขตฟ้าชมพู

ใต้ร่มฟ้าชมพูเราต่างเชิดชูด้วยจิตศัทธา

เราพร้อมจะก้าวไปข้างหน้า ด้วยฝาศึกษาเพื่อพัฒนาชาติไทย
พระธาตุศรีสองรักคงมั่นเตือนใจไม่หวั่นต่ออุปสรรคใด
สถาบันผูกพันดวงหทัยเราอยู่แห่งใดใจไม่ร้างแรมลา

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย...........

 ประชาชื่นเชยน้องพี่ชื่นชมนิยมบูชา
สวนไผ่สวยทิวเขาสุดงามตรึงตรา 
เป็นดั่งสวรรค์เป็นขวัญชีวาเรารักชั่วฟ้านิรันดร์

ประวัติบ้านสว่างดอนดู่ ตำบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

มกราคม 31, 2557 0 Comments

โดย......... นายจีระพันธ์  โชติวัฒนานุสรณ์
นักศึกษาปริญญาตรี วิชาเอกสังคมศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน


                การตั้งหมู่บ้านไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.เท่าไหร่ แต่สันนิฐานว่า ประมาณ              พ.ศ.๒๔๑๐ ได้มีผู้คนอพยพมาจากที่ไหนไม่ทราบแน่ชัด โดยการนำของ นายพิมพ์ ทะวงษาและเครือญาติ ประมาณ ๕-๑๐ ครัวเรือน มาตั้งหมู่บ้านครั้งแรกที่หนองขาม (สันนิฐานว่าน่าจะเป็นที่ลุ่มและมีต้นขามจำนวนมากปัจจุบันยังปรากฏเห็นอยู่)         อาศัยอยู่ตรงนี้ได้ไม่นานก็เกิดโรคระบาดขึ้นทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก และถ้าขืนอยู่ที่นี้ต่อไปคงตายกันหมดทั้งหมู่บ้านแน่ นายพิมพ์ และญาติ จึงได้ย้ายหมู่บ้านครั้งที่ ๒ อพยพลงมาตามลำน้ำที่กั้นระหว่างชายแดนจังหวัดขอนแก่นกับชัยภูมิ ได้ตั้งหมู่บ้านแห่งใหม่ชื่อบ้านหนองผักบุ้ง (เพราะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง มีพืชน้ำอาทิ กระเฉดน้ำ และผักบุ้งขึ้นเป็นจำนวนมาก) อยู่มาไม่นาน ก็เกิดมีโจรมาปล้นหมู่บ้าน และฆ่าคนในหมู่บ้านตายจำนวนมาก ทำให้นายพิมพ์ ทะวงษาและคนที่เหลืออยู่อพยพหนีโจรในตอนกลางคืน และได้มาพักที่โนนต้นดู่ (ป่าประดู่) ตั้งใจว่าจะพักไม่นานและจะเดินทางต่อ แต่พักไม่นานก็พากันเหนื่อยและนอนหลับ พอรู้สึกตัวอีกทีก็สว่างแล้ว ทำให้นายพิมพ์ ทะวงษาและคนที่อพยพติดตามมา ตัดสินใจว่าจะตั้งหมู่บ้านที่นี่และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านสว่างดอนดู่” ตามที่กล่าวมาในครั้งแรก คือคำว่า “สว่าง” เพราะนอนพักที่นี้จนสว่าง และคำว่า “ดอนดู่” เพราะที่นี้มีลักษณะเป็นเนินที่มีต้นประดู่เป็นจำนวนมาก  และชาวบ้านก็ได้ยกย่องให้ นายพิมพ์ ทะวงษา เป็นผู้นำหมู่บ้าน หรือผู้ใหญ่บ้านคนแรก เพราะมีร่างกายแข็งแรง ฉลาดเฉลียว สามารถคุ้มครองคนอื่นๆให้ปลอดภัยได้ และตั้งหมู่บ้านเสร็จไม่นานก็มีคนต่างถิ่นย้ายมาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านด้วย คือ จากบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ,บ้านไผ่,มัญจาคีรี และปัจจุบันมีคนต่างถิ่นอพยพเข้ามาจำนวนมาก ได้นำเอาวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้ามาปะปนจนทำให้เกิดการกลมกลืนซึ่งวัฒนธรรมเกิดขึ้น

อาณาเขต

                บ้านสว่างดอนดู่ หมู่ที่ 9 อยู่ในเขตการปกครองของตำบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
ทิศเหนือ               ติดต่อกับ บ้านหนองโน,บ้านหาด,ตำบลบ้านเม็ง
ทิศใต้                     ติดต่อกับ บ้านดอนช้าง ( ตำบลบ้านเม็ง) บ้านนายม อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ
ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ ภูเม็ง
ทิศตะวันตก          ติดต่อกับ บ้านถนนกลาง ( อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ)

การคมนาคม
                การเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นสามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถยนต์โดยสารประจำทางจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ไปทางทิศตะวันตก ผ่านอำเภอบ้านฝาง รวมระยะทาง 53 กิโลเมตร
                - ระยะห่างจากตัวอำเภอ   ๘    กิโลเมตร (ทางหลวงหมายเลข ๒๑๘๗ หนองเรือ-หนองแวง)
                - ระยะห่างจากตัวจังหวัด  ๕๓ กิโลเมตร

สถานที่สำคัญ
                ด้านศาสนาและวัฒนธรรมมีวัดในชุมชน 1 แห่ง คือ วัดภูศรีสว่าง
                ด้านวัฒนธรรมประเพณีชาวบ้าน ได้ยึดถือและปฏิบัติตามฮีตประเพณีของคนอีสาน
                ด้านการศึกษามี โรงเรียนในชุมชน 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านสว่างดอนช้าง เปิดสอนระดับอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้เรียนร่วมกับบ้านดอนช้าง
สภาพชุมชน
                - มีจำนวนครัวเรือน ๑๙๔ หลังคาเรือน
                - ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม รับจ้าง และรับราชการ ตามลำดับ

ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
                นายมงคล  ชำนาญเวช
.............................................................................................................................................................................

ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษา
     คำตัน  มาปัสสา. (สัมภาษณ์). 4 มกราคม 2557
     หมื่น  ชำนาญเวช. (สัมภาษณ์). 4 มกราคม 2557