วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566

มณฑลปัตตานี

กันยายน 27, 2566 0 Comments

 



มณฑลปัตตานี เป็นมณฑลที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2449 มีเมืองใหญ่น้อยรวมกัน 7 เมือง คือ ปัตตานี ยะลา ยะหริ่ง ระแงะ ราห์มัน สายบุรี และหนองจิก ปัจจุบันคือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อันประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา หลังจากจัดตั้งเป็นมณฑลปัตตานีโดยสมบูรณ์ ได้ยุบหัวเมืองทั้ง 7 เหลือเพียง 4 เมือง คือยุบเมืองหนองจิกและยะหริ่ง เข้ากับเมืองปัตตานี ยุบรวมเมืองราห์มันเข้ากับยะละรวมเรียกยะลา ส่วนระแงะกับสายบุรี คงไว้เช่นเดิม กระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป สอดคล้องกับนโยบายยกเลิกระบบเจ้าเมือง โดยอาศัยช่วงที่เจ้าเมืองคนใดคนหนึ่งถึงแก่อสัญกรรมแล้วไม่แต่งตั้งคนใหม่ทดแทน แต่มีการโยกย้ายยุบรวมตามความเหมาะสม ต่อมายุบเมืองระแงะเข้ากับบางนรา แล้วเปลี่ยนชื่อบางนราเป็นเมืองนราธิวาส เมื่อ พ.ศ 2458 ปีต่อมา พ.ศ. 2459 โปรดให้เรียกทุกเมืองที่เหลืออยู่เป็นจังหวัด มณฑลปัตตานีตอนนั้นจึงประกอบด้วย 4 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสายบุรี จนกระทั่งปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 เมื่อมีการประกาศยุบเลิกมณฑลปัตตานี ได้ลดฐานะจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอตะลุบัน

มณฑลปัตตานีแตกต่างจากมณฑลทั่วไป คือ ประกอบด้วยราษฎรหลากหลายเชื้อชาติ ภาษา ขนบธรรมเนียมและศาสนา จึงมีการผ่อนผันเป็นพิเศษให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น เช่น ผ่อนผันให้เกณฑ์ชายฉกรรจ์เป็นตำรวจภูธรแทนการเกณฑ์เป็นทหาร เนื่องจากชาวมุสลิมไม่พอใจในการเกณฑ์เป็นทหาร ได้มีการจัดตั้งศาลเป็น 2 ศาล คือ ศาลทั่วไปและศาลสำหรับการพิจารณาคดีศาสนาอิสลาม รัฐบาลยังประกาศยกเว้นการเก็บภาษีบางอย่าง เช่น ภาษีค่านา ค่าราชการ และสรรพภาษีภายใน

จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2474 มณฑลปัตตานีได้ถูกรวมเข้ากับมณฑลนครศรีธรรมราช


ที่มา

..............................................................................................................................................................................

  1. มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ, 350.
  2.  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. "คำนำพงศาวดารเมืองปัตตานี". 4.
  3.  มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ, 356.
  4.  "กรณีเจ้าแขกเจ็ดหัวเมือง การเริ่มต้นความจริงเกี่ยวกับปัตตานี ด้วยประวัติศาสตร์แห่งการลวง". ศิลปวัฒนธรรม.
  5.  ปิยดา ชลวร. "ส่วย ภาษีและผลประโยชน์ของเจ้าเมืองปัตตานี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
  6.  "ภูมิศาสตร์มณฑลปัตตานี" (PDF).
  7.  "ยุบรวมพื้นที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
  8.  มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ, 377.
  9.  มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ, 379.


วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566

หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม PDF

กันยายน 26, 2566 0 Comments

     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยแพร่หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  "พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว"


ดาวโหลดไฟล์แนบ

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2566

วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566

แหล่งมรดกโลกในประเทศไทย World Heritage Site

กันยายน 22, 2566 0 Comments

 


    แหล่งมรดกโลก หรือ World Heritage Site เป็น พื้นที่ที่ได้รับจากขึ้นทะเบียนจาก ยูเนสโก (UNESCO) ซึ่งก็คือ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) เป็นสถานที่ซึ่งถือว่าสำคัญต่อประโยชน์โดยรวมของมนุษยชาติ และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามสนธิสัญญา โดยจะมีคณะกรรมการ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการคัดเลือกว่า พื้นที่นั้นๆ มีความเหมาะสม ในการพิจารณาให้เป็น “แหล่งมรดกโลก” 


      สำหรับประเทศไทย องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยทั้งสิ้น 7 รายการ ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 4 รายการ และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 3 รายการ ดังนี้

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม


      กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งที่สองของชาวสยามต่อจากกรุงสุโขทัย ถูกทำลายโดยกองทัพพม่าในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซากปรักหักพังสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ปรางค์ และอารามขนาดใหญ่แสดงถึงความงดงามและความเจริญรุ่งเรืองในอดีต


    กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาวสยามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 สิ่งก่อสร้างจำนวนมากแสดงถึงจุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมไทย อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ได้พัฒนาขึ้นในอาณาจักรสุโขทัยผ่านการซึมซับอิทธิพลและประเพณีท้องถิ่นโบราณไว้มากมาย การผสมผสานอย่างรวดเร็วขององค์ประกอบเหล่านี้ ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า 'รูปแบบสุโขทัย'

    บ้านเชียงถือเป็นที่ตั้งถิ่นฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งเท่าที่มีการค้นพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมสังคมและเทคโนโลยีของมนุษย์ แหล่งมรดกนี้ได้แสดงหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของ การเกษตร การผลิต และการใช้โลหะ ในภูมิภาค

    ประกอบด้วย สามพื้นที่สำคัญของวัฒนธรรมทวารวดีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-10 ได้แก่ 1. เมืองใน (เมืองชั้นใน) และเมืองนอก (เมืองขั้นนอก) ที่ล้อมรอบด้วยคูน้ำ 2. โบราณสถานเขาคลังนอก อนุสรณ์สถานสมัยทวารวดีที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ และ 3. ถ้ำเขาถมอรัตน์ อารามถ้ำของศาสนาพุทธนิกายมหายานที่แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างศิลปะและปฏิมากรรมสมัยทวารวดีที่สำคัญ

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ


    พื้นที่มากกว่า 600,000 เฮกตาร์ ตามแนวชายแดนกับประเทศพม่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซึ่งค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยผืนป่าเกือบทุกประเภทที่มีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นบ้านของสัตว์หลากหลายชนิด ซึ่งรวมถึง 77% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ (โดยเฉพาะช้างและเสือโคร่ง) 50% ของนกขนาดใหญ่ และ 33% ของสัตว์มีกระดูกสันหลังบกที่พบในภูมิภาคนี้


    กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ มีความยาว 230 กม. ระหว่างอุทยานแห่งชาติตาพระยาติดชายแดนกับประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันออก และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ทางทิศตะวันตก พื้นที่แห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์กว่า 800 ชนิด ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 112 สายพันธุ์ (ในจำนวนนี้มีชะนีสองสายพันธุ์) สัตว์ชนิดนก 392 สายพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกว่า 200 สายพันธุ์ การอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก และสัตว์เลื้อยคลานที่ทั่วโลกกำลังคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มีความสำคัญในระดับนานาชาติ โดยในจำนวนนี้มี 19 สายพันธุ์ ที่มีความเสี่ยง 4 สายพันธุ์ที่เสี่ยงมาก และ 1 สายพันธุ์ที่เสี่ยงขั้นวิกฤต พื้นที่ดังกล่าวมีระบบนิเวศป่าดิบชื้นที่สำคัญและอุดมสมบูรณ์ซึ่งสามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยเพื่อการอยู่รอดในระยะยาวของสัตว์สายพันธุ์เหล่านี้

    แหล่งมรดกนี้ตั้งอยู่ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีด้านประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสันเขาหินแกรนิตและหินปูนในแนวเหนือ-ใต้ลงสู่คาบสมุทรมลายู ตั้งอยู่ที่ทางแยกระหว่างเทือกเขาหิมาลัย อินโดจีน และเกาะสุมาตรา เป็นดินแดนแห่งสัตว์และดอกไม้ สถานที่แห่งนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าเต็งรัง มีรายงานพันธุ์พืชและสัตว์ป่าเฉพาะถิ่นและที่ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลกในพื้นที่นี้ ซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่นกสำคัญ 2 แห่ง และขึ้นชื่อว่ามีนกหลากหลายชนิด รวมถึงสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก 8 ชนิด สถานที่แห่งนี้เป็นที่อยู่ของจระเข้สยาม หมาใน วัวแดง ช้างเอเชีย เต่าเหลือง และเต่าหก รวมทั้งสัตว์อีกหลายชนิด นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์อื่นที่อ่อนแอ ที่พิเศษคือที่นี่ยังเป็นที่อยู่ของแมว 8 สายพันธุ์ ได้แก่ เสือโคร่ง เสือปลา เสือดาว เสือไฟ เสือลายเมฆ แมวลายหินอ่อน แมวป่า และแมวดาว

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2566

คู่มือผู้เล่าเรื่องธรณี "สวนหินพุนางนาค"

กันยายน 14, 2566 0 Comments

     กรมทรัพยากรธณีวิทยา เปิดให้ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องธรณีวิทยาให้ดาวน์โหลด E-Book คู่มือผู้เล่าเรื่องธรณี "สวนหินพุนางนาค" ฟรีที่เว็บโซต์กรมทรัพยากรธรณีวิทยา https://www.dmr.go.th/


วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566

ภาพแผ่นดินไทยสมัยรัชกาลที่ ๙ และ ๑๐

กันยายน 12, 2566 0 Comments
        กระทรวงศึกษาธิการ ได้เผยแพร่ E-Book ภาพแผ่นดินไทยสมัยรัชกาลที่ ๙ และ ๑๐ 
แอดมินเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ครูสังคมศึกษาต่อการนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน หรือสำหรับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ