วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

การเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย

กรกฎาคม 27, 2566 0 Comments

 •• ในบันทึกประวัติศาสตร์จะถือว่า วันที่ 24 มิถุนายน 2482 คือ วันเปลี่ยนชื่อประเทศ โดยยึดตาม ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยม ใช้ชื่อประเทศ, ประชาชน และสัญชาติ 


แต่ในทาง 
กฎหมาย แล้วต้องถือเอาวันที่ 26 สิงหาคม 2482 อันเป็นวันที่รัฐบาลสมัยนั้นเสนอ ร่างพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญขนานนามประเทศ ต่อ รัฐสภา และผ่าน วาระที่ 3 ในอีก 1 เดือนถัดมา นั่นเอง
       
 •• คำแถลงต่อ รัฐสภา ของ จอมพลป. พิบูลสงคราม (หรือในขณะนั้นเรียกกันว่า นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม) ได้ระบุ เหตุผลหลัก ไว้ในลักษณะให้เข้าใจได้ไม่ยากว่าเพื่อ ต่อต้านคนจีน(ในสยาม) ดังคำกล่าวตอนหนึ่งที่บันทึกว่า 

“...การที่เราใช้คำว่า ประเทศสยามนั้น นอกจากจะไม่ตรงกับเชื้อชาติของเราแล้ว ในต่อไปภายหน้าคนชาวต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศของเรา ก็อาจที่จะถือเอาสิทธิประเทศของเราเป็นประเทศของเขาก็ได้ คือเราเป็นชาวไทย เราก็อยู่ในประเทศสยาม ชาวจีนก็อยู่ในสยาม ถ้าหากว่าการที่อพยพของชาวต่างประเทศมากขึ้นในต่อไปข้างหน้าตั้งพันปี เราก็อาจจะไม่เข้าใจว่าประเทศสยามนี้เป็นของไทยหรือของจีน หรือของคนอื่น.” 

       
       •• ในรัฐสภาครั้งกระนั้น วันที่ 26 สิงหาคม 2482 ประเด็นเดียวที่ ถกกันหนัก ใช้เวลา กว่า 1 ชั่วโมง ก็คือ ตัวสะกด ของชื่อประเทศที่เปลี่ยนใหม่ว่าควรจะมี ย ต่อท้าย ไท หรือไม่ –  ปรากฏว่า ไทย ได้รับความเห็นชอบ เป็นเอกฉันท์ 
       
       •• จากนั้นมามี การถกเถียงอย่างจริงจัง ถึงการจะกลับไปใช้ชื่อ สยาม อีกในการอภิปรายใน สภาร่างรัฐธรรมนูญ รวม 3 ยุค คือ ปี 2491, ปี 2504 และ ปี 2517 
       
       •• ล่าสุด ปี 2517 แม้จะมีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 – 3 คนหยิบยกขึ้นมาอภิปรายแต่ก็ ไม่ได้รับความสนใจ ไม่เป็น ประเด็น ที่จะต้อง ลงมติ แต่ประการใด
       
       •• ต้นคิดจริง ๆ ของ การเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก สยาม มาเป็น ไทย นี้นอกเหนือจาก จอมพลป. พิบูลสงคราม แล้วคนที่มีส่วนผลักดันสำคัญเห็นจะเป็น "หลวงวิจิตรวาทการ" ผู้ประกาศแนวคิด ต่อต้านคนจีน มาโดยตลอด 

          หลวงวิจิตรวาทการ ที่น่าศึกษาไม่น้อยเหตุผล 4 ประการ ของท่านผู้นี้ในข้อเสนอเปลี่ยนชื่อประเทศก็คือคำว่า สยาม มีปัญหารวม 4 ประการ 

  • ประการที่หนึ่งคือ ทำให้คนไทยมีสัญชาติกับบังคับไม่ตรงกัน (กล่าวคือ สัญชาติไทย, บังคับสยาม
  • ประการที่สองคือ ชื่อภาษากับชื่อคนไม่ตรงกัน (กล่าวคือ คนสยาม, ภาษาไทย
  • ประการที่สามคือ ในประเทศเดียวกันเกิดปวงชนเป็น 2 พวก (กล่าวคือ ปวงชนชาวไทย กับ ปวงชนชาวสยาม
  • ประการสุดท้าย ความใหญ่หลวงของเชื้อชาติไทยที่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก (ที่นับรวมกันแล้วได้ 36 ล้านคน ใน ปี 2482
           

       •• แม้จะอรรถาธิบายใน ปี 2517 แต่ใน ปี 2482 จะเห็นได้ว่า ท่านปรีดี พนมยงค์ ได้ได้ออกแรง คัดค้านอย่างถึงที่สุด สันนิษฐานกันว่าอาจจะเป็นเพราะ ไม่ต้องการสร้างความแตกแยกขึ้นในคณะราษฎร ข้อคัดค้านที่ มีเหตุผลที่สุด ของ วันที่ 8 พฤษภาคม 2482 จึงยังคงเป็นของ นายพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์  กับประโยคที่ว่า 

“...ในแง่นโยบายปกครอง เราคงลำบากใจบางอย่าง คนในสยามมีหลายชาติ เวลานี้เขารักใคร่สยาม ถึงคราวเราพูดอะไรจะให้กินความส่วนรวมแล้วใช้ว่าไทย เกรงว่าเขาอาจจะน้อยใจได้ อนึ่ง ถ้าเราเลิกใช้คำสยาม ใช้แต่ไทย จะเกิดความรู้สึกว่าเอาพวกชาติอื่นออก เพราะไม่ใช่ไทย พวกปัตตานีก็ไม่ใช่ไทย ถ้าเราเรียกว่าสยามก็รวมพวกปัตตานีด้วย เขาก็พอใจ ถ้าเปลี่ยนไป อาจไม่ดูดพวกนี้มารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้.”  

       
       •• ประเด็นที่ ท่านปรีดี พนมยงค์ จริงจังคือ ชื่อภาษาอังกฤษ ของ ประเทศไทย, คนไทย ว่าควรใช้ Siam, Siamese ดังนั้นเมื่อท่านมีอำนาจใน ปี 2489 ท่านจึงเสนอให้รัฐบาล ทวี บุณยเกต ประกาศ ชื่อภาษาอังกฤษ ของ ประเทศไทย, คนไทย เสียใหม่ว่า Siam, Siamese โดยไม่ได้ดำเนินการ แก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนชื่อประเทศ ซึ่งก็ใช้อยู่ไม่นานเพราะ เมื่อ จอมพลป. พิบูลสงคราม กลับขึ้นไปมีอำนาจหลัง ปี 2492 ก็กลับไปใช้ Thailand, Thai อย่างเดิม 
       
       •• พูดง่าย ๆ ก็คือประเทศนี้ เสียโอกาสครั้งสำคัญ ในช่วง ปี 2489 ที่จะกลับไปใช้ชื่อ สยาม เพราะหลังจากนั้นมาแม้จะมีความพยายามจาก เสียงข้างน้อย แต่ก็ พ่าย ต่อ เสียงข้างมาก  

ที่มา: https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/24982-037033

ชื่อมลฑลลาวในประเทศสยาม

กรกฎาคม 27, 2566 0 Comments

    ลาว หมายถึง ชื่อประเทศ และชนชาติหนึ่งที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย กัมพูชา เวียดนาม พม่า และจีน เมืองหลวงชื่อเวียงจันทน์ หรือ เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หากเราลองมองย้อนกลับไปยังในอดีตโดยไม่ได้เอาเรื่องของพรมแดนของประเทศในปัจจุบันเป็นที่ตั้งแล้ว เราจะพบกับคำว่า "ลาว" นั้นจะหมายถึงชนชาติที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีหลายประเทศในปัจจุบันนี้ ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนขอเสนอประเด็นเรื่อง "ชื่อมณฑลที่มีคำว่าลาวในประเทศสยามกัน" ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่ามณฑลเสียก่อนว่าคืออะไร มีที่ไปที่มาอย่างไรแล้วผู้เขียนจะขมวดไขปรมในคราวเดียวกันเลยว่า ชื่อมณฑลลาวมีที่ไปที่มาอย่างไร 

    การปกครองแบบมณฑลหรือการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานราชการส่วนภูมิภาค สังกัด กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นในรัชการที่ 5 ที่มีการปรับปรุงการปกครอง ซึ่งถือว่าพระองค์ท่านได้ริเริ่มการวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นพระองค์แรก คือ การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ปกครองหัวเมืองต่างๆ โดยมอบหมายให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรกนำไปปฏิบัติตามพระบัญชา

    การปกครองเทศาภิบาลเป็นการปกครองโดยข้าราชการ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ ดำเนินการบริหารงานปกครองในส่วนภูมิภาคทำหน้าที่เชื่อมโยงจากส่วนกลาง คือ รัฐบาลกับส่วนภูมิภาค คือ ประชาชน โดยแบ่งการปกครองเป็นมณฑลต่างๆ และรองลงไปเมืองประกอบด้วย จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตามลำดับดังนี้
        เทศาภิบาล” หรือ “มณฑลเทศาภิบาล”
        1. มณฑล เกิดขึ้นจากการรวมหลายเมือง
        2. เมือง เกิดขึ้นจากการรวมหลายอำเภอ
        3. อำเภอ เกิดขึ้นจากการรวมหลายตำบล                                                                    
4. ตำบล เกิดขึ้นจากการรวมหลายหมู่บ้าน 

    บทบาทหน้าที่ของข้าราชการในการปฏิบัติราชการในมณฑล
    ปลัดมณฑล (ปลัดเทศา) ทำหน้าที่ช่วยราชการ ข้าหลวงเทศาภิบาลและรักษาราชการแทนเป็นผู้ว่าราชการเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลอีกตำแหน่งหนึ่ง
        ยกกระบัตรมณฑล (อัยการมณฑล)
        ข้าหลวงมหาดไทย (มหาดไทยมณฑล)
        ข้าหลวงสรรพากร (สรรพากรมณฑล)
    ส่วนระดับเมือง (จังหวัด) มีข้าราชการผู้ใหญ่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) และกรมการเมืองคณะหนึ่งประกอบด้วย
        ปลัดเมือง (ปลัดจังหวัด) เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายธุรการ
        ยกกระบัตร (อัยการจังหวัด) เป็นหัวหน้าฝ่ายตุลาการ
        กรมการที่ปรึกษา เป็นที่ปรึกษาหารือข้อราชการบ้านเมืองไม่จำกัดจำนวนคน
        ข้าหลวงหัวเมืองลาวเฉียง (สาเหตุที่เรียกว่า ลาวพุงดำ เพราะผู้ชายทางภาคพายัพชอบสักมอมดำตั้งแต่พุงลงไปหัวเข่า ส่วนลาวพุงขาวคือพวกไม่นิยมสักดำ)

    ทีนี้เมื่อเข้าใจที่ไปที่มาของคำว่า "มณฑล"แล้ว ผู้เขียนจะขอเข้าเรื่องเลยว่า "มลฑลลาว" มีที่ไปที่มาอย่างไร ย้อนกลับไปในรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2433 มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนอินโดจีน ฝรั่งเศสบุกรุกดินแดนประเทศญวนและเขมรไว้ในครอบครอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงดำริว่า การปกครองเมืองสยามในภาคอีสาน ยังไม่ปลอดภัยและได้รับการดูแลไม่ทั่วถึง เนื่องจากพระราชอาณาเขตสยามได้แผ่ออกไปกว้างไกลเลยฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ดินแดนประเทศเวียดนาม ตลอดจนแคว้นสิบสองเจ้าไทหรือสิบสองจุไทย หัวพันห้าทั้งหกรอบแคว้นหลวงพระบางเวียงจันทน์ เป็นข้าขัณฑสีมาอยู่ด้วย จึงได้จัดการบริหารราชการส่วนภูมิภาคขึ้นใหม่ โดยรวบรวมหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา เข้าด้วยกัน แล้วจัดแบ่งออกเป็น 4 กองใหญ่ โดยมีข้าหลวงใหญ่กำกับราชการอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์เป็นข้าหลวงประจำหัวเมือง ดังนี้

    1. หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก มีพระยาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) ข้าหลวงจำปาศักดิ์เป็นข้าหลวงประจำเมือง
    2. หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีพระราชเสนา (ทัต ไกรฤกษ์) ข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี เป็นข้าหลวงประจำหัวเมือง
    3. หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มี 16 หัวเมือง คือ เมืองหนองคาย เชียงขวาง กมุทธาสัย (หนองบัวลำภู) บุรีรัมย์ หนองหานใหญ่ ขอนแก่น คำเกิด คำม่วน หล่มสัก รวมทั้งเมืองโท ตรี จัตวา เป็นเมืองขึ้น 38 เมือง มีข้าหลวงประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย คือพระยาสุรเดชวิเศษฤทธิ์ (จันทร์ อินทรกำแหง)
    4. หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง มีพระพิเรนทรเทพ (ทองคำ สีหอุไร) ข้าหลวงเมืองนครราชสีมา เป็นข้าหลวงประจำหัวเมือง
    ต่อมาในปี พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภว่า บ้านเมืองเจริญมากขึ้น การติดต่อตกลงแบ่งเขตแดนพระราชอาณาเขตกับบ้านเมือง ในการปกครองของฝรั่งเศสและอังกฤษยังไม่เป็นที่เรียบร้อย ควรที่จะจัดข้าหลวงใหญ่ผู้ทรงคุณวุฒิ ออกไปประจำรักษาพระราชอาณาเขตซึ่งติดต่อกับหัวเมืองต่างประเทศ เพื่อจะได้จัดการราชการบ้านเมืองให้เป็นที่เรียบร้อย และรักษาทางพระราชไมตรีให้เจริญยิ่งขึ้นสืบไป จึงมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองหัวเมืองใหม่ ดังนี้ คือ
    1.ให้รวมเมืองลาวตะวันออกกับหัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือเข้าด้วยกันเรียกว่า หัวเมืองลาวกาว ให้กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ต่อมาได้ย้ายสำนักงานมาตั้งที่ อุบลราชธานี

    2. หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ เปลี่ยนเป็นหัวเมืองลาวพวน ให้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ที่เมืองหนองคายเรียกว่า ข้าหลวงหัวเมือง ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน

    3. หัวเมืองลาวพุงขาว ให้กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการหัวเมืองลาวพุงขาว ไปประจำอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง มีเมืองหลวงพระบาง สิบสองปันนา สิบสองจุไทย หัวพันห้าทั้งหก

    4. เปลี่ยนชื่อหัวเมืองลาวพุงดำทางภาคเหนือ เป็นหัวเมืองลาวเฉียง มีเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ เถิน มีข้าหลวงใหญ่ประจำที่เชียงใหม่เรียกว่า ข้าหลวงสำเร็จราชการมณฑลหรือข้าหลวงใหญ่ตามทำเนียบที่ได้ตั้งไว้ก่อนหน้านี้และเปลี่ยนเป็น “สมุหเทศาภิบาล” ในสมัยรัชกาล ที่ 7

    นี้ก็เป็นเรื่องราวของ ชื่อมณฑลลาว ในประเทศสยาม วันนี้งดดราม่านะครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อนๆผู้เข้ามาอ่านจะได้รับความรู้และนำความรู้ไปต่อยอดในการสอนลูกศิษย์ต่อไปครับ ผิดพลากประการใดกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ พอกันใหม่ในบทความต่อไปครับ



E-Book ประวัติของแผ่นดินไทย ภาคที่ 1 - 3

กรกฎาคม 27, 2566 0 Comments

วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ทำไมต้องเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

กรกฎาคม 14, 2566 0 Comments


    สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอย่างไร ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล และการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคมโลก


เรียนรู้อะไรในสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

    กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม โดยได้กำหนดสาระต่างๆไว้ ดังนี้

    ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ การนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นผู้กระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม

    หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต ระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะและความสำคัญ การเป็นพลเมืองดี ความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ปลูกฝังค่านิยมด้านประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพการดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทยและสังคมโลก

    เศรษฐศาสตร์ การผลิต การแจกจ่าย และการบริโภคสินค้าและบริการ การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ การดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ และการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน

    ประวัติศาสตร์ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญในอดีต บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆในอดีต ความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก

    ภูมิศาสตร์ ลักษณะของโลกทางกายภาพ ลักษณะทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร และภูมิอากาศของประเทศไทย และภูมิภาคต่างๆ ของโลก การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ในระบบธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น การนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

    สาระที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

        มาตรฐาน ส ๑.๑ รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

        มาตรฐาน ส ๑.๒ เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ

    สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

        มาตรฐาน ส ๒.๑ เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข

        มาตรฐาน ส ๒.๒ เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

    สาระที่ ๓ เศรษฐศาสตร์

        มาตรฐาน ส.๓.๑ เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

        มาตรฐาน ส.๓.๒ เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

    สาระที่ ๔ ประวัติศาสตร์

        มาตรฐาน ส ๔.๑ เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นระบบ

        มาตรฐาน ส ๔.๒ เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถ วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น

        มาตรฐาน ส ๔.๓ เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

    สาระที่ ๕ ภูมิศาสตร์

        มาตรฐาน ส ๕.๑ เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

        มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


คุณภาพผู้เรียน

    จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

        ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและผู้ที่อยู่รอบข้าง ตลอดจนสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ที่อยู่อาศัย และเชื่องโยงประสบการณ์ไปสู่โลกกว้าง

        ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีทักษะกระบวนการ และมีข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาให้เป็น ผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ มีความเป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ การอยู่ร่วมกันและการทำงานกับผู้อื่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมของห้องเรียน และได้ฝึกหัดในการตัดสินใจ

        ได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนในลักษณะการบูรณาการ ผู้เรียนได้เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับปัจจุบันและอดีต มีความรู้พื้นฐานทางเศรษฐกิจได้ข้อคิดเกี่ยวกับรายรับ-รายจ่ายของครอบครัว เข้าใจถึงการเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค รู้จักการออมขั้นต้นและวิธีการเศรษฐกิจพอเพียง

        ได้รับการพัฒนาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญา เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจในขั้นที่สูงต่อไป


    จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

        ได้เรียนรู้เรื่องของจังหวัด ภาค และประทศของตนเอง ทั้งเชิงประวัติศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพ สังคม ประเพณี และวัฒนธรรม รวมทั้งการเมืองการปกครอง สภาพเศรษฐกิจโดยเน้นความเป็นประเทศไทย

        ได้รับการพัฒนาความรู้และความเข้าใจ ในเรื่องศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ รวมทั้งมีส่วนร่วมศาสนพิธี และพิธีกรรมทางศาสนามากยิ่งขึ้น

        ได้ศึกษาและปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของท้องถิ่น จังหวัด ภาค และประเทศ รวมทั้งได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ของท้องถิ่นตนเองมากยิ่งขึ้น

        ได้ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องราวของจังหวัดและภาคต่างๆของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้รับการพัฒนาแนวคิดทางสังคมศาสตร์ เกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์เพื่อขยายประสบการณ์ไปสู่การทำความเข้าใจ ในภูมิภาค ซีกโลกตะวันออกและตะวันตกเกี่ยวกับศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต การจัดระเบียบทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบัน

    จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

        ได้เรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปของโลก โดยการศึกษาประเทศไทยเปรียบเทียบ กับประเทศในภูมิภาคต่างๆในโลก เพื่อพัฒนาแนวคิด เรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

        ได้เรียนรู้และพัฒนาให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการเป็นนักคิดอย่างมีวิจารณญาณได้รับการพัฒนาแนวคิด และขยายประสบการณ์ เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ในโลก ได้แก่ เอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ในด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ และสังคมศาสตร์

        ได้รับการพัฒนาแนวคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคต สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ ในการดำเนินชีวิตและวางแผนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม

    จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

        ได้เรียนรู้และศึกษาความเป็นไปของโลกอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น

        ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาตนเองเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ รวมทั้งมีค่านิยมอันพึงประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งมีศักยภาพเพื่อการศึกษาต่อในชั้นสูงตามความประสงค์ได้

        ได้เรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาไทย ความภูมิใจในความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ของชาติไทย ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

        ได้รับการส่งเสริมให้มีนิสัยที่ดีในการบริโภค เลือกและตัดสินใจบริโภคได้อย่างเหมาะสม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ประเพณีวัฒนธรรมไทย และสิ่งแวดล้อม มีความรักท้องถิ่นและประเทศชาติ มุ่งทำประโยชน์ และสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม

        เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ชี้นำตนเองได้ และสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆในสังคมได้ตลอดชีวิต

ดาวเทียมของประเทศไทย ในปัจจุบัน

กรกฎาคม 14, 2566 0 Comments

 


    ดาวเทียมของประเทศไทยเป็นดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ในชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) ซึ่งเป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ


ดาวเทียมดวงที่ 1 : ไทยคม 1

    ไทยคม 1 เป็นดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551) เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"


ดาวเทียมดวงที่ 2 : ไทยคม 2

    ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย โคจรบริเวณพิกัดที่ 104°24'57.7 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี ก่อนที่จะตกลงสู่มหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ 2552


ดาวเทียมดวงที่ 3 : ไทยคม 3

    ไทยคม 3 โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 เพื่อทดแทนไทยคม 1A มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ


ดาวเทียมดวงที่ 4 : ไทยคม 4

    ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6,805 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุด ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี และครอบคลุม 18 แห่ง ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก


ดาวเทียมดวงที่ 5 : ไทยคม 5

    ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่นเดียวกับไทยคม 3 มีน้ำหนัก 2,800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH6486) และการถ่ายทอดสัญญาณ(โทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง) (High Definition TV)(HD) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3 โดยดาวเทียมไทยคม 5 ได้ปลดระวางไปแล้วเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เนื่องจากปัญหาด้านแบตเตอรี่ของดาวเทียม


ดาวเทียมดวงที่ 6 : ไทยคม 6

    ไทยคม6 มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) (HD)


ดาวเทียมดวงที่ 7 : ไทยคม 7

    ไทยคม 7 เป็นดาวเทียมประเภท 3 แกน น้ำหนัก ประมาณ 3,700 กิโลกรัม มีอายุการใช้งานนาน 15 ปี ประกอบด้วยย่านความถี่ ซี-แบนด์ (C-Band) จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ ซึ่งมีพื้นที่ให้บริการกว้างครอบคลุมภูมิภาคเอเชียใต้ อินโดจีน รวมถึงออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ภายในบีมเดียวกัน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่อข้ามภูมิภาคได้ ดาวเทียมไทยคม 7 จัดสร้างแล้วเสร็จและจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ณ ตำแหน่ง 120 องศาตะวันออกได้เมื่อปี พ.ศ. 2557


ดาวเทียมดวงที่ 8 : ไทยคม 8

    ไทยคม 8 เป็นดาวเทียมรุ่นใหม่ เพื่อทดแทนไทยคม 5 ไทยคม 8 โคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เดียวกับ ไทยคม 5 และ ไทยคม 6 มีน้ำหนักราว 3,100 กิโลกรัม มีจานรับส่งสัญญาณ เคยู-แบนด์ (Ku-Band) จำนวน 24 ทรานสพอนเดอร์ ซึ่งมีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ ทั้งในประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียใต้ และทวีปแอฟริกา ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลทั้งความละเอียดสูง และความละเอียดสูงยิ่งยวด