วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประวัตินายธงชัย นิกรสุข

กรกฎาคม 20, 2557 0 Comments
 เกิดวันอังคาร ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2487 อายุ 69 ปี บิดาชื่อนายทอง  นิกรสุข มารดาชื่อนางไห  นิกรสุข สถานที่เกิดบ้านนาโป่ง ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย พี่น้องร่วมบิดา 1 คน คือ นายเสกสม  นิกรสุข

ประวัติการศึกษา
                -ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู วิทยาลัยครูอุดรธานี
                -ปริญญาตรี สาขาอุตสาหกรรมศิลป์ วิทยาลัยครูเลย

ประวัติการทำงาน
                -เริ่มรับราชการครูเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ.2507
                -ครูโรงเรียนบ้านหนองฟาดฟาน  อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
                -ครูโรงเรียนบ้านโคกขมิ้น อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
                -ครูใหญ่โรงเรียนบ้านกุดลัน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
                -ครูใหญ่โรงเรียนบ้านผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
                -อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
                -อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
                - พ.ศ.2529 ลาออกจากราชการ

เกียรติประวัติ
                -ปราชญ์ของแผ่นดิน สาขาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดเลย ปี พ.ศ.2554
                -คนดีศรีแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ.2554

  ข้อมูลเพิ่มเติม: รายงานวิจัยเกษตรแบบผสมผสาน:กรณีศึกษานายธงชัย   นิกรสุข.(จีระพันธ์ กาฬปักษีและคณะ) 




ประวัติชุมชนบ้านใหม่ 3 ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย

กรกฎาคม 20, 2557 0 Comments
สภาพทั่วไปของชุมชนบ้านใหม่ 3
ทิศเหนือ          จดชุมชนกกม่วงชีและแม่น้ำหมาน
ทิศใต้                จดถนนพิพัฒนมงคล
ทิศตะวันออก   จดถนนวิสุทธิเทพ
ทิศตะวันตก      จดแม่น้ำหมาน

การตั้งชุมชน
                เริ่มแรกเดิมทีชุมชนบ้านใหม่ก่อตั้ง จากการอพยพของคนมาจากบ้านแฮ่ได้หาทำเลที่ตั้งใหม่บริเวณทิศตะวันออกของบ้านแฮ่ยึดทำเลที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเลยและได้ตั้งชื่อว่า บ้านใหม่ต่อมาในปี  พ.ศ.2544 เทศบาลเมืองเลยได้ทำการประชาคมจัดแบ่งบ้านใหม่เป็น 3 ชุมชนคือ บ้านใหม่1 บ้านใหม่2 บ้านใหม่3 เพื่อง่ายแก่การปกครองดูแล เนื่องจากมีประชากรจำนวนมากและง่ายต่อการบริหารงบประมาณ และเป็น ชุมชนบ้านใหม่3 จนถึงปัจจุบันนี้
                นายสวัสดิ์ โสระสิงห์ ซึ่งเป็นชาวบ้านคนแรกที่เข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณทุ่งนาเมี่ยง ก่อนที่จะแยกเป็นบ้านใหม่ 3  โดยมาอาศัยอยู่เมื่อ พ.ศ.2512 โดยเป็นคนแรกที่มาอาศัยอยู่ แต่ก่อน นายสวัสดิ์  โสระสิงห์ ได้อาศัยอยู่ที่ชุมชนบ้านใหม่ 1 และต่อมาได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ทุ่งนาเมียง ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้ตั้งเป็น            บ้านใหม่ 3 อย่างเป็นทางการ แต่เดิมเรียกว่าทุ่งนาเมียงและต่อมาเมื่อทางเทศบาลเมืองเลยได้แบ่งชุมชน        บ้านใหม่ออกเป็น 3 ชุมชน เมื่อ พ.ศ. 2544  และมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยได้เห็นว่า นายสวัสดิ์  โสระสิงห์ และครอบครัวที่อาศัยอยู่ก่อน แล้วจึงมีความสนใจที่ย้ายมาอยู่ใกล้ๆกันและเกิดการย้ายตามญาติพี่น้องมาตั้งเป็นชุมชน โดยตอนนั้นมีจำนวนประชากรประมาณ 120 หลังคาเรือน โดยมี นาย รังสี ลำมะยศ  เป็นประธานชุมชนคนแรก
                เนื่องจากทางเทศบาลเมืองเลยได้ทำการประชาคมจัดแบ่งบ้านใหม่ออกเป็น 3 ชุมชน เพื่อง่ายแก่การปกครองดูแลเนื่องจากมีจำนวนประชากรมากและแยกออกเพื่อจัดสรรงบประมาณให้ได้อย่างลงตัว และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานจึงได้ทำการแบ่งชุมชนบ้านใหม่ออกเป็นสามชุมชน เมื่อ พ.ศ.  2544 และเป็น ชุมชนบ้านใหม่ 3 จนถึงปัจจุบัน

การขยายตัวของชุมชน


                ในอดีต พ..2503 บ้านใหม่ 3 ในขณะนั้นยังเป็นบ้านใหม่โดยไม่มีการแยกหมู่เป็น 1,2,3  โดยพื้นที่บ้านใหม่ 3 นี้ มีลักษณะเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง โดยชาวบ้านใช้เป็นที่นาสำหรับปลูกข้าวเรียกว่า ทุ่งนาเมี่ยง มีผู้คนเข้ามาอาศัยปลูกบ้านอยู่ 5 หลังคาเรือน เนื่องจากว่าได้สะดวกต่อการประกอบอาชีพคือทำนาทำสวน (สวัส โสระสิงห์) ..2512 มีนายทุนเข้ามาจัดสรรแบ่งขายที่ดินบริเวณเยี่ยงไปทางทิศเหนือของวัดศรีสุทธาวาส ซึ่งบริเวณนั้นอยู่ติดกับถนนวิสุทธิเทพ จึงทำให้เป็นที่สนใจของข้ารับราชการอย่างมาก เพราะข้าราชการมีเงินเดือนในการผ่อนชำระได้ และส่งผลให้มีการปลูกบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้นใน พ..2525 เกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้น หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการทำถนนใหม่  มีการปรับปรุงพื้นฟูพื้นที่ มีสาธารณูปโภคเข้ามามากขึ้น(... ทนงศักดิ์ ฉลวยแสง) บ้านใหม่ 3 มีการขยายตัวของเมืองฝั่งตะวันออกจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือตามถนนวิสุทธิเทพ ด้วยความเจริญของเมือง ประกอบกับความแออัดทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกไม่สามารถที่จะขยายชุมชนออกไปได้แล้ว แต่ไม่มีการตั้งบ้านเรือนเข้ามากข้างในเพราะเป็นพื้นที่ลุ่มไม่เหมาะแก่การตั้งบ้านเรือน(สุทัศน์ จุมพลตรี) ในปี พ.ศ.2544 ได้มีการแยกชุมชนออกจากชุมชนบ้านใหม่ 1 เป็นบ้านใหม่ 3 ส่งผลให้ชุมชนมีงบประมาณในการพัฒนามากขึ้น การการทำถนนคอนกรีตเข้าภายในหมู่บ้าน มีการตั้งเทสโก้โลตัส ตั้งโรงงาน ส่วนไฟฟ้า เข้ามาปี พ.ศ.2523 และน้ำประปาเข้ามา พ.ศ.2526 ทำให้เศรษฐกิจเจริญ เป็นต้น

ที่มา: จีระพันธ์  โชติวัฒนานุสรณ์ และคณะ. (2557). รายงานการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น:ชุมชนบ้านใหม่ 3 ตำบลกุดป่องอำเภอเมือง จังหวัดเลย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย : เลย.

ชื่อของถนน มลิวรรณ

กรกฎาคม 20, 2557 0 Comments

       
          ชื่อของถนนมลิวรรณนั้นสืบเนื่องมาจากผู้ที่ทำการควบคุมในการสร้างถนนสาย ขอนแก่น-ชุมแพ- เลย เชียงคาน  ก็คือนายช่าง กมล มลิวรรณ เป็นนายช่างที่ดูแลการสร้างถนนเส้นนี้จนแล้วเสร็จ จึงได้รับเกียรติจากกรมทางหลวงให้ใช้นามสกุลของท่านมาขนานนามตั้งชื่อถนนว่า ถนนมลิวรรณ ’’ มาเป็นเวลาช้านาน ตั้งแต่ปี พ.. 2493 เป็นต้นมา  ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ว่าผู้ใดที่เป็นผู้บุกเบิก ควบคุมการตัดสร้างถนน จะตั้งชื่อถนนตามชื่อของผู้ที่ควบคุมการสร้าง เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่บุคคลผู้นั้น  แต่ภายหลังชื่อป้ายถนนได้มีการสะกดคำผิดเป็น ถนนมะลิวัลย์’’ ซึ่งไม่ถูกต้อง ทางบุตร- ธิดา ของนายช่าง กมล มลิวรรณ จึงได้ยื่นเรื่องขอให้ทางกรมทางหลวงแผ่นดิน ได้ทำการแก้ไขป้ายชื่อถนนให้ถูกต้องตามตัวสะกดนามสกุลจริงของท่าน คือ มลิวรรณ’’ เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลของนายช่าง กลม มลิวรรณ ตามวัตถุประสงค์และเจตนารมย์ของกรมทางหลวง ซึ่งในปัจจุบันชื่อที่ถูกต้องตามเดิมของถนนสายนี้ก็คือ ถนนมลิวรรณ’’ หรือทางหลวงหมายเลข 201 ที่ใช้เป็นสากล 

อ้างอิงจาก: เอกสารจากแขวงการทางหลวงหมายเลข (17 ธันวาคม 2555).

ประวัติการก่อตั้ง ชมรมส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

กรกฎาคม 20, 2557 0 Comments




ระหว่างวันที่ 23 – 25 ธันวาคม 2551 ทางจังหวัดเลยได้จัดโครงการการฝึกอบรมเยาวชนอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ รุ่นที่ 8  ขึ้น  ณ  วัดป่าเนรมิตวิปัสสนา  อำเภอด่านซ้าย  จังหวัดเลย  โดย  สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติสำนักงานปลัดนายรัฐมนตรี  และ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  ในการจัดอบรมครั้งนั้นได้นำตัวแทนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาจากทุกอำเภอในจังหวัดเลย และตัวแทนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  เข้าร่วมการอบรมและจัดตั้งคณะกรรมเยาวชนอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ รุ่นที่ 8  จังหวัดเลย  และเลือกตั้งประธานดำรงตำแหน่งและเป็นตัวแทนประสานงานร่วมกับคณะกรรมการจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของจังหวัดเลย  ดังนี้
1.  นายชัยณรงณ์  พรหมมาวัน                      ประธาน   (มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย)
2.  นายนิคม  สังลอย                               รองประธาน   (มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย)
3.  นางสาวอภิญญา  เขียวอาสา                   รองประธาน  (มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย)
หมายเหตุ  ตัวแทนนักเรียนและนักศึกษาทั้งหมดเป็นคณะกรรมการ

                จากการได้รับตำแหน่งในครั้งนี้  ทางคณะกรรมตัวแทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  ได้เห็นพร้อมต้องกันว่าควรจะมีการจัดตั้ง  ชมรม  เพื่อรวบร่วมนักศึกษาผู้มีใจรักษ์ในเอกลักษณ์ของชาติ  ในรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  และสานต่อกิจกรรมการส่งเสริมด้านเอกลักษณ์ของชาติให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น  โดยได้จัดตั้งชมรมขึ้นเมื่อปี  พ.ศ. 2552  โดยใช้คณะกรรมตำแหน่งชุดเดิมจากคณะกรรมเยาวชนอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ รุ่นที่ 8  จังหวัดเลย  และตั้งชื่อชมรมว่า ส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  โดยได้รับการปรึกษาจากคณาจารย์  ผู้รู้ที่เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของชาติหลายๆ ท่าน  และการส่งเสริมอนุเคราะห์จากสำนักงานกิจกรรมนักศึก  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  ในการดำเนินการต่างๆ เป็นอย่างดี

รายชื่อ คณะกรรมการ ชมรมส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ ปีการศึกษา 2552

1.  นายชัยณรงค์  พรหมมาวัน                         ประธาน         
2.  นายนิคม  สังลอย                                       รองประธาน
3.  นางสาวอภิญญา  เขียวอาสา                       รองประธาน
4.  นายธีรวัฒน์  บุญค้ำ                                    กรรมการ
5.  นายมนัสพงษ์  ผางเวียง                              กรรมการ
6.  นายวิทวัส  นาบำรุง                                    กรรมการ
7.  นายเสกสรร  โยธานันต์                              กรรมการ
8.  นายอดิสร  วงษ์อินตา                                 กรรมการ
9.  นางสาวนิตยา  ผาเนตร                               กรรมการ        
10.  นางสาวเพ็ญนภา  คำภาสี                         กรรมการ
11.  นางสาวสุวรรณี  คนซื่อ                           กรรมการ                    
12.  นางสาวอนุธิดา  เหลื่อมเภา                      กรรมการ
13.  นางสาวพักตร์สุดา  อันทะปัญญา            กรรมการ
14.  นางสาวเกศิณี  มังครัด                             เหรัญญิก        
15.  นางสาวดอกจันทร์  ดวงวิสัย                   เลขานุการ

คณะกรรมการชมรม ปีการศึกษา 2556
1.        นายวุฒิแสน      ขานแสน                               ประธานชมรม
2.       นายวศค          นิลดาศรี                              รองประธานชมรม
3.       นายสุรเชษฐ์      คำงาม                                รองประธานชมรม
4.       นายจีระพันธ์      กาฬปักษี                             ที่ปรึกษาประธานกรรมการ
5.       นางสาวศิริวรรณ   วงศ์แก้ว                                 กรรมการ
6.      นายพงษ์สิทธิ์     เศรษฐากา                             กรรมการ
7.      นายภาณุวัฒน์    โกมาร                                  กรรมการ
8.     นายมนตรี         ศรีแก้ว                                   กรรมการ
9.     นายนิมิต         จันทุดม                                  กรรมการ
10. นางสาวกัญญา     ทองใบ                                   กรรมการ
11. นางสาวสุชาวดี      จันอ่อน                                  เหรัญญิก
12. นายพัฒนสิทธิ์     วงษ์พรม                                กรรมการและเลขานุการ

อาจารย์ที่ปรึกษาชมรม

1.  อาจารย์วีระนุช     แย้มยิ้ม
2. ผศ.ดร.ยิ่งศักดิ์        คชโคตร
3. ผศ.ดร.ชมพูนุท     วราศิระ
4. ดร.สาคร             พรหมโคตร
5. อาจารย์นพพล      แก่งจำปา