วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง

พฤษภาคม 16, 2567 0 Comments

     หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ได้เผยแพร่หนังสือ "ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง" แอดมินเห็นว่าเป็นประโยชน์จึงขอบอกกล่าวเล่าต่อให้ผู้ที่สนใจทำการดาวน์โหลดไว้เพื่อศึกษา



วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กำแพงเมืองเชียงใหม่

พฤษภาคม 13, 2567 0 Comments

     หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ได้เผยแพร่หนังสือ "กำแพงเมืองเชียงใหม่" แอดมินเห็นว่าเป็นประโยชน์จึงขอบอกกล่าวเล่าต่อให้ผู้ที่สนใจทำการดาวน์โหลดไว้เพื่อศึกษา



วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

สรุปรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 5 รูปแบบ

พฤษภาคม 12, 2567 0 Comments

     


        การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามหลักการกระจาย   อำนาจการปกครอง (Decentralization) แบ่งการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ


          1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)  เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

          2. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เป็นรูปแบบการปกครองที่ไม่เหมือนรูปแบบทั่วไป จะมีรูปแบบเฉพาะ และมักเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา


          จากข้อมูลสถิติจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ประเทศไทยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมกันทั้งสิ้น 7,852 แห่ง โดยจำแนกออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง เทศบาล 2,445 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 5,329 แห่ง (ข้อมูล ณ พฤศจิกายน 2562)


5 จังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุดในประเทศไทย

พฤษภาคม 12, 2567 0 Comments

       ประเทศไทยมีจังหวัดทั้งหมด 76 จังหวัด กรุงเทพมหานคร เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จึงไม่ถือว่าเป็นจังหวัด ในแต่ละจังหวัดจะมีจำนวนอำเภอไม่เท่ากัน  วันนี้ขอนำเสนอ 5 จังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุดในประเทศไทย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 












นามสกุลบ่งบอกที่มาของต้นตระกูลอย่างไร

พฤษภาคม 12, 2567 0 Comments


    นามสกุล คือ ชื่อบอกตระกูล เพื่อแสดงที่มาของบุคคลนั้น ๆ ว่ามาจากครอบครัวไหน ตระกูลใด ธรรมเนียมการใช้นามสกุลปรากฏอยู่ทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศและวัฒนธรรม ซึ่งในแต่ละที่ก็อาจจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป

เดิมทีคนไทยไม่ได้มีนามสกุล จะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่น ๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน 6,432 นามสกุล และหลายครอบครัวก็ตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้นำของครอบครัวนั้น หรือตามถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนั้น

ในบางครั้งนามสกุลก็ถูกตั้งขึ้นตามอาชีพของผู้เป็นต้นสกุลเอง ยกตัวอย่างนามสกุลดังต่อไปนี้ (คำว่าในบางครั้งหมายความว่า ไม่ทั้งหมด ไม่ได้ 100%)  


  • สืบสกุลจากเจ้าเมือง มีคำราชทินนามนำหน้า อาทิ นามสกุล นาคบุรี,รามสูต,รามบุตร,รัตนะธิยากุล อินทรสูต, พรหมเทพ, นุชนิยม ,สมานกุล เป็นต้น

  • สกุลพ่อค้า มีคำว่า วณิช หรือ วานิช หรือ เวส ประกอบในนามสกุลเช่น กมุทวณิช, วณิชาชีวะ, กัณหะเวส, คุปตะวาณิช, กฤษณวณิช, นาควานิช, กุลวานิช, เอกวานิช, เตมียาเวส, โกศัลวัฒน์ เป็นต้น


  • สกุลชาวสวน มีคำว่า ผล และ ผลิน ประกอบในนามสกุล เช่น ผลพันธิน, นิตย์อำนวยผล, ผลาชีวะ, มณฑลผลิน เป็นต้น

  • สกุลชาวนา มีคำว่า กสิกร, เกษตริน และศาลิ ประกอบในนามสกุล เช่น โพธิกสิกร, รัตกสิกร,พงษ์สาริกิจ, สนธิเกษตริน, พฤทธิศาลิกร, ศาลิคุปต เป็นต้น

  • สกุลทหารบก มีคำว่า โยธิน ประกอบในนามสกุล เช่น พหลโยธิน, พินทุโยธิน, อุตตมะโยธิน, กมลโยธิน,​ โกษะโยธิน,​ อัครโยธิน,​ วัฒนโยธิน,​อินทรโยธิน เป็นต้น

  • สกุลทหารเรือ มีคำว่า นาวิน และกลิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลนาวิน, กนกนาวิน, วิเศษนาวิน, โรหิตนาวิน, ไอศะนาวิน, อังคะนาวิน, กฤษณกลิน, สมุทรกลิน, บุญยรัตกลิน เป็นต้น

  • สกุลทหารอากาศ มีคำว่า อากาศ หรือ นภา ประกอบในนามสกุล เช่น รณนภากาศ, วุฒากาศ, อากาศไชย เป็นต้น

  • สกุลช่างสิบหมู่ มีคำว่า ศิลปิน ประกอบในนามสกุล เช่น เกียรติศิลปิน, เตมียศิลปิน เป็นต้น

  • ศิลปินโขน มีคำว่า นัฏ ประกอบในนามสกุล เช่น กานตะนัฎ, จารุนัฎ, สมรรคนัฎ เป็นต้น

  • นักดนตรี มีคำว่า วาทิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลวาทิน, วรวาทิน, สุนทรวาทิน เป็นต้น

  • กรมพระอัศวราช มีคำว่า อัศวิน ประกอบในนามสกุล เช่น ศวิน โกมลาศวิน, ชยาศวิน, มณฑาศวิน เป็นต้น

  • สกุลแพทย์ มีคำว่า เวช, ไวทยะ, แพทย์ ประกอบในนามสกุล เช่น บุรณเวช,โกมลเวช, สุนทรเวช, ถาวรเวช, วีระไวทยะ, พัฒนเวชวงศ์, ตีรแพทย์, ไวทยะชีวิน, มิลินทแพทย์, เวชภูติ, เวชชาชีวะ, ปิณฑะแพทย์, วิริยเวช, รัตนเวช, ไวทยะกร , นัดดาเวช เป็นต้น

  • โหรหลวง มีคำว่า โชติ ประกอบในนามสกุล เช่น โชติวิท, เศษโชติ, สุนทรโชติ, หิรัญโชติ เป็นต้น

  • พราหมณ์ มีคำว่า พราหมณ ประกอบในนามสกุล เช่น จุลละพราหมณ์, พราหมณายน, วินทุพราหมณกุล , วุฒิพราหมณ์ , รัตนพราหมณ์ เป็นต้น

 



อ้างอิง

นามสกุลพระราชทาน จากเว็ปไซต์พระราชวังพญาไทเทพ สุนทรศารทูล. นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่6 รัชกาลที่7 รัชกาลที่8 รัชกาลที่9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.                                                                        

ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติขนามนามสกุล พุทธศักราช ๒๔๕๖, เล่ม ๒๙, ตอน ๐ ก, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕, หน้า ๒๘๓

    ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้เลื่อนการใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ก, ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๕๘
    ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ การเลื่อนใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พระพุทธศักราช ๒๔๕๖, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ก, ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๔๙๓
    "จดหมายเหตุรายวัน เล่ม ๒ รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๗๒ พทุธสาสนายุกาล ๒๔๕๔ วันที่ ๑๓ มกราคม ถึง วันที่ ๓๑ มินาคม," ใน จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2517. 200 หน้า. หน้า 47.


ทิศ 8 ทิศ แบบไทย มีชื่อเรียกว่าอย่างไร

พฤษภาคม 12, 2567 0 Comments




1. ทิศเหนือ  คือ   ทิศอุดร
2. ทิศใต้ 
คือ   ทิศทักษิณ
3. ทิศตะวันออก  
คือ   ทิศบูรพา
4. ทิศตะวันตก 
คือ  ทิศประจิม
5. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  
คือ   ทิศอีสาน
6. ทิศตะวันออกเฉียงใต้  
คือ   ทิศอาคเนย์
7. ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 
คือ   ทิศพายัพ
8. ทิศตะวันตกเฉียงใต้ 
คือ  ทิศหรดี


        ตัวอย่างการนำทิศไปตั้งชื่อเขตการปกครองของไทยในอดีต เช่น มณฑลพายัพ  ประกอบด้วย นครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน นครน่าน นครแพร่ เถิน (เถินต่อมายุบเป็นอำเภอรวมกับจังหวัดลำปาง) มณฑลอุดร มณฑลอุดร ประกอบด้วย เมืองหนองคาย หนองหาน ขอนแก่น ชลบถวิบูลย์ หล่มสัก กมุทาสัย สกลนคร ชัยบุรี โพนพิสัย ท่าอุเทน นครพนม มุกดาหาร เป็นต้น


        นอกจากนั้นยังมีการนำชื่อทิศไปตั้งเป็นชื่อ อำเภอ เช่น อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดขุขันธ์ ร้อยเอ็จ กาฬสินธุ (เขียนแบบต้นฉบับ พ.ศ.2456)