วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ก.พ.7 กับ ก.ค.ศ.16 ต่างกันอย่างไร

 


ความเป็นมา

        ข้าราชการครูเดิมเป็นข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่ง ต่อมาได้แยกเป็นข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 แต่ยังนำทะเบียนประวัติในรูปแบบ ก.พ.7 มาใช้บังคับโดยอนุโลม 

        ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ได้ปรับเปลี่ยนอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนประวัติจากเดิม ก.ค. มาเป็น ก.ค.ศ. แต่การจัดทำทะเบียนประวัติยังคงใช้รูปแบบ ก.พ.7  เดิม

        ก.ค.ศ. จึงได้ออกระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2555 โดยสาระของระเบียบ ก.ค.ศ.ดังกล่าว ได้กำหนดรูแบบและรายการ ก.ค.ศ. 16 เพื่อใช้แทน ก.พ.7 เดิม
        บันทึกประวัติย่อ (ก.ค.ศ. 16) เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่วันเริ่มปฏิบัติราชการจนถึงวันพ้นจากราชการ เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลที่สำคัญของการบริหารงานบุคคล เช่น การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การเปลี่ยนตำแหน่ง การโอน การเลื่อนวิทยฐานะ การเลื่อน ตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ความสำคัญ
        บันทึกประวัติย่อ (ก.ค.ศ. 16) เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่วันเริ่มปฏิบัติราชการจนถึงวันพ้นจากราชการ เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลที่สำคัญของการบริหารงานบุคคล เช่น การบรรจุและแต่งตั้ง การย้ายการเปลี่ยนตำแหน่ง การโอน การเลื่อนวิทยฐานะ การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือนการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา








ที่มา: ก.ค.ศ.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น