วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ก.พ.7 กับ ก.ค.ศ.16 ต่างกันอย่างไร

พฤษภาคม 02, 2567 0 Comments

 


ความเป็นมา

        ข้าราชการครูเดิมเป็นข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่ง ต่อมาได้แยกเป็นข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 แต่ยังนำทะเบียนประวัติในรูปแบบ ก.พ.7 มาใช้บังคับโดยอนุโลม 

        ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ได้ปรับเปลี่ยนอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนประวัติจากเดิม ก.ค. มาเป็น ก.ค.ศ. แต่การจัดทำทะเบียนประวัติยังคงใช้รูปแบบ ก.พ.7  เดิม

        ก.ค.ศ. จึงได้ออกระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยระบบทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2555 โดยสาระของระเบียบ ก.ค.ศ.ดังกล่าว ได้กำหนดรูแบบและรายการ ก.ค.ศ. 16 เพื่อใช้แทน ก.พ.7 เดิม
        บันทึกประวัติย่อ (ก.ค.ศ. 16) เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่วันเริ่มปฏิบัติราชการจนถึงวันพ้นจากราชการ เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลที่สำคัญของการบริหารงานบุคคล เช่น การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การเปลี่ยนตำแหน่ง การโอน การเลื่อนวิทยฐานะ การเลื่อน ตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ความสำคัญ
        บันทึกประวัติย่อ (ก.ค.ศ. 16) เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่วันเริ่มปฏิบัติราชการจนถึงวันพ้นจากราชการ เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลที่สำคัญของการบริหารงานบุคคล เช่น การบรรจุและแต่งตั้ง การย้ายการเปลี่ยนตำแหน่ง การโอน การเลื่อนวิทยฐานะ การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือนการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา








ที่มา: ก.ค.ศ.






ตัวอย่างความผิดทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีความผิดเกี่ยวกับการเรียกรับเงิน

พฤษภาคม 02, 2567 0 Comments

 


        รายที่ ๑-๑๓๑/๒๕๕๖
นางแพรวา ตําแหน่งครู วิทยฐานะครูชํานาญการพิเศษ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
        กระทําผิดวินัยในเรื่อง เรียกรับเงินจากราษฎรเพื่อเป็นคําช่วยเหลือในการสอบเป็นพนักงานองค์การบริหารสํวนตําบล
        ข้อเท็จจริงได้ความว่า นางแพรวาได้นัดหมายให้นางสาวมารีพร้อมด้วยพยาน ได้แก่ นางวาและนายสิงโต ไปพบกันที่รีสอร์ทแห่งหนึ่ง โดยนางแพรวาบอกกับนางสาวมารีว่าเร็วๆ นี้จะมีการเปิดสอบตําแหน่ง ปลัดเทศบาลในจังหวัดหนึ่งให้นางสาวมารีเตรียมเงินไว้เพื่อเป็นค่าช่วยเหลือให้สอบบรรจุได้จํานวน ๘๐,๐๐๐ บาท โดยต้องจ่ายเป็นเงินสด แต่นางสาวมารีเกรงว่าจะถูกหลอกจึงได้ทําสัญญากู้เงินไว้ จํานวน ๘๐,๐๐๐ บาท จากนั้นนางสาวมารี ได้โอนเงินให้กับนางแพรวาและนางแพรวา เรียกเพิ่มอีกจํานวน ๒๐,๐๐๐ บาท นางสาวมารีจึงโอนเงินเข้าบัญชีให้อีกตามที่นางแพรวาเรียกเพิ่ม ต่อมาเมื่อ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓ นางแพรวาได้ขอเงินค่าดําเนินการเพิ่มอีกจํานวน ๕๐,๐๐๐ บาท จนเวลาล่วงเลย ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีการเปิดสอบบรรจุตําแหน่งปลัดเทศบาลตามที่นางแพรวาบอก ไว้ นางสาวมารีจึงขอเงินจํานวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท คืน แต่นางแพรวาไม่ยอมคืนให้ จนกระทั่งเมื่อ วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ นางแพรวาได้เดินทางมาเจรจาเพื่อขอไกล่เกลี่ยกับนางสาวมารีที่สถานีตํารวจภูธรแห่งหนึ่ง โดยตกลงจะคืนเงินให้จํานวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ทั้งหมดภายในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ แต่เมื่อถึงกําหนดนัดก็ไม่ได้นําเงินมาชําระคืนแต่อย่างใด
        มาตรา ๙๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ ประกอบหนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร ๐๗๐๙.๓/วท ๒ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
        กรณี กระทําการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอยํางร้ายแรง
        โทษ ปลดออกจากราชการ
        มติ ก.ค.ศ.เพิ่มโทษจากโทษปลดออกจากราชการเป็นโทษไล่ออกจากราชการ

ประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๖
วันที่ ๑๔ พ.ย. ๒๕๕๖

ตัวอย่างความผิดทางวินัย ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีความผิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันชู้สาว (ระหว่างครูชายกับนักเรียนหญิง)

พฤษภาคม 02, 2567 0 Comments

 


    รายที่ 1-106/2553 ชื่อ นายกร ตําแหน่งผู้อํานวยการโรงเรียน วิทยฐานะผู้อํานวยการชํานาญการพิเศษ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา 
    กระทําผิดวินัยในเรื่อง ไม่ค่อยมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีพฤติกรรมชู้สาวกับนางสาวฤดี และทําร้าย ร่างกายนางพร ภรรยาของตน
    ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายกรได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมายกับนางพร ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา มีการจดทะเบียนหย่าเมือปี พ.ศ. 2540 และจดทะเบียนสมรสกันอีกครั้งใน ปีเดียวกัน และได้มีการติดต่อพูดคุยกับนางสาวฤดี นักศึกษาของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ 12 มิถุนายน 2545 สําเร็จการศึกษา 9 ธันวาคม 2551 และได้มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวถึงขั้นได้เสียกับนางสาวฤดีที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2548 นางพร ภรรยาได้ขอร้องและห้ามบุคคลทั้งสองให้เลิกติดต่อกัน หลายครั้ง แต่กลับไม่ยอมเลิก สุดท้ายนางพร ได้ฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวเรียกร้องค่าเสียหายที่ทํา
ให้ครอบครัวตนเดือดร้อน ศาลพิพากษาให้นางสาวฤดี ชดใช้คําทดแทนเป็นเงิน 300,000 บาท
    ส่วนเรื่องทําร้ายร่างกายปรากฏตามบันทึกการแจ้งความร้องทุกข์ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 ระบุว่า สามีของตนกระชากกระเป๋าสะพาย จึงยื้อแย่งเสียหลักล้มลง นายกรได้ลากนางพร ล้มลงได้รับบาดเจ็บ ฟังไม่ได้ว่ามีเจตนาที่จะทําร้าย
    มาตรา 94 วรรคสาม แหํงพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
    กรณี ล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษาไม่ว่าจะอยู่ในความผิดชอบของตนหรือไม่
    โทษ ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน
    มติ ก.ค.ศ. เพิ่มโทษจากโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เป็นโทษปลดออกจากราชการ
ประชุมครั้งที่ 8/2553
เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2553