ชื่อมลฑลลาวในประเทศสยาม

    ลาว หมายถึง ชื่อประเทศ และชนชาติหนึ่งที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย กัมพูชา เวียดนาม พม่า และจีน เมืองหลวงชื่อเวียงจันทน์ หรือ เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หากเราลองมองย้อนกลับไปยังในอดีตโดยไม่ได้เอาเรื่องของพรมแดนของประเทศในปัจจุบันเป็นที่ตั้งแล้ว เราจะพบกับคำว่า "ลาว" นั้นจะหมายถึงชนชาติที่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีหลายประเทศในปัจจุบันนี้ ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนขอเสนอประเด็นเรื่อง "ชื่อมณฑลที่มีคำว่าลาวในประเทศสยามกัน" ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่ามณฑลเสียก่อนว่าคืออะไร มีที่ไปที่มาอย่างไรแล้วผู้เขียนจะขมวดไขปรมในคราวเดียวกันเลยว่า ชื่อมณฑลลาวมีที่ไปที่มาอย่างไร 

    การปกครองแบบมณฑลหรือการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานราชการส่วนภูมิภาค สังกัด กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งขึ้นในรัชการที่ 5 ที่มีการปรับปรุงการปกครอง ซึ่งถือว่าพระองค์ท่านได้ริเริ่มการวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นพระองค์แรก คือ การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ปกครองหัวเมืองต่างๆ โดยมอบหมายให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรกนำไปปฏิบัติตามพระบัญชา

    การปกครองเทศาภิบาลเป็นการปกครองโดยข้าราชการ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ ดำเนินการบริหารงานปกครองในส่วนภูมิภาคทำหน้าที่เชื่อมโยงจากส่วนกลาง คือ รัฐบาลกับส่วนภูมิภาค คือ ประชาชน โดยแบ่งการปกครองเป็นมณฑลต่างๆ และรองลงไปเมืองประกอบด้วย จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ตามลำดับดังนี้
        เทศาภิบาล” หรือ “มณฑลเทศาภิบาล”
        1. มณฑล เกิดขึ้นจากการรวมหลายเมือง
        2. เมือง เกิดขึ้นจากการรวมหลายอำเภอ
        3. อำเภอ เกิดขึ้นจากการรวมหลายตำบล                                                                    
4. ตำบล เกิดขึ้นจากการรวมหลายหมู่บ้าน 

    บทบาทหน้าที่ของข้าราชการในการปฏิบัติราชการในมณฑล
    ปลัดมณฑล (ปลัดเทศา) ทำหน้าที่ช่วยราชการ ข้าหลวงเทศาภิบาลและรักษาราชการแทนเป็นผู้ว่าราชการเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลอีกตำแหน่งหนึ่ง
        ยกกระบัตรมณฑล (อัยการมณฑล)
        ข้าหลวงมหาดไทย (มหาดไทยมณฑล)
        ข้าหลวงสรรพากร (สรรพากรมณฑล)
    ส่วนระดับเมือง (จังหวัด) มีข้าราชการผู้ใหญ่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) และกรมการเมืองคณะหนึ่งประกอบด้วย
        ปลัดเมือง (ปลัดจังหวัด) เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายธุรการ
        ยกกระบัตร (อัยการจังหวัด) เป็นหัวหน้าฝ่ายตุลาการ
        กรมการที่ปรึกษา เป็นที่ปรึกษาหารือข้อราชการบ้านเมืองไม่จำกัดจำนวนคน
        ข้าหลวงหัวเมืองลาวเฉียง (สาเหตุที่เรียกว่า ลาวพุงดำ เพราะผู้ชายทางภาคพายัพชอบสักมอมดำตั้งแต่พุงลงไปหัวเข่า ส่วนลาวพุงขาวคือพวกไม่นิยมสักดำ)

    ทีนี้เมื่อเข้าใจที่ไปที่มาของคำว่า "มณฑล"แล้ว ผู้เขียนจะขอเข้าเรื่องเลยว่า "มลฑลลาว" มีที่ไปที่มาอย่างไร ย้อนกลับไปในรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2433 มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนอินโดจีน ฝรั่งเศสบุกรุกดินแดนประเทศญวนและเขมรไว้ในครอบครอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงดำริว่า การปกครองเมืองสยามในภาคอีสาน ยังไม่ปลอดภัยและได้รับการดูแลไม่ทั่วถึง เนื่องจากพระราชอาณาเขตสยามได้แผ่ออกไปกว้างไกลเลยฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ดินแดนประเทศเวียดนาม ตลอดจนแคว้นสิบสองเจ้าไทหรือสิบสองจุไทย หัวพันห้าทั้งหกรอบแคว้นหลวงพระบางเวียงจันทน์ เป็นข้าขัณฑสีมาอยู่ด้วย จึงได้จัดการบริหารราชการส่วนภูมิภาคขึ้นใหม่ โดยรวบรวมหัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา เข้าด้วยกัน แล้วจัดแบ่งออกเป็น 4 กองใหญ่ โดยมีข้าหลวงใหญ่กำกับราชการอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์เป็นข้าหลวงประจำหัวเมือง ดังนี้

    1. หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก มีพระยาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) ข้าหลวงจำปาศักดิ์เป็นข้าหลวงประจำเมือง
    2. หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีพระราชเสนา (ทัต ไกรฤกษ์) ข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี เป็นข้าหลวงประจำหัวเมือง
    3. หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มี 16 หัวเมือง คือ เมืองหนองคาย เชียงขวาง กมุทธาสัย (หนองบัวลำภู) บุรีรัมย์ หนองหานใหญ่ ขอนแก่น คำเกิด คำม่วน หล่มสัก รวมทั้งเมืองโท ตรี จัตวา เป็นเมืองขึ้น 38 เมือง มีข้าหลวงประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย คือพระยาสุรเดชวิเศษฤทธิ์ (จันทร์ อินทรกำแหง)
    4. หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง มีพระพิเรนทรเทพ (ทองคำ สีหอุไร) ข้าหลวงเมืองนครราชสีมา เป็นข้าหลวงประจำหัวเมือง
    ต่อมาในปี พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภว่า บ้านเมืองเจริญมากขึ้น การติดต่อตกลงแบ่งเขตแดนพระราชอาณาเขตกับบ้านเมือง ในการปกครองของฝรั่งเศสและอังกฤษยังไม่เป็นที่เรียบร้อย ควรที่จะจัดข้าหลวงใหญ่ผู้ทรงคุณวุฒิ ออกไปประจำรักษาพระราชอาณาเขตซึ่งติดต่อกับหัวเมืองต่างประเทศ เพื่อจะได้จัดการราชการบ้านเมืองให้เป็นที่เรียบร้อย และรักษาทางพระราชไมตรีให้เจริญยิ่งขึ้นสืบไป จึงมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองหัวเมืองใหม่ ดังนี้ คือ
    1.ให้รวมเมืองลาวตะวันออกกับหัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือเข้าด้วยกันเรียกว่า หัวเมืองลาวกาว ให้กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ต่อมาได้ย้ายสำนักงานมาตั้งที่ อุบลราชธานี

    2. หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ เปลี่ยนเป็นหัวเมืองลาวพวน ให้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ที่เมืองหนองคายเรียกว่า ข้าหลวงหัวเมือง ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน

    3. หัวเมืองลาวพุงขาว ให้กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการหัวเมืองลาวพุงขาว ไปประจำอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง มีเมืองหลวงพระบาง สิบสองปันนา สิบสองจุไทย หัวพันห้าทั้งหก

    4. เปลี่ยนชื่อหัวเมืองลาวพุงดำทางภาคเหนือ เป็นหัวเมืองลาวเฉียง มีเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ เถิน มีข้าหลวงใหญ่ประจำที่เชียงใหม่เรียกว่า ข้าหลวงสำเร็จราชการมณฑลหรือข้าหลวงใหญ่ตามทำเนียบที่ได้ตั้งไว้ก่อนหน้านี้และเปลี่ยนเป็น “สมุหเทศาภิบาล” ในสมัยรัชกาล ที่ 7

    นี้ก็เป็นเรื่องราวของ ชื่อมณฑลลาว ในประเทศสยาม วันนี้งดดราม่านะครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อนๆผู้เข้ามาอ่านจะได้รับความรู้และนำความรู้ไปต่อยอดในการสอนลูกศิษย์ต่อไปครับ ผิดพลากประการใดกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ พอกันใหม่ในบทความต่อไปครับ



แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น