ประวัติตระกูล "สุวรรณพันธ์" โดยประดิษฐ์ สุวรรณพันธ์




     ที่จริงข้าพเ้จ้ามีเพื่อนคนหนึ่ง ที่เรียนวิทยาลัยครูเลย ด้วยกัน (มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย) จึงเผลอไปอ่านเว็บบอร์ดอันหนึ่งเชื่อว่า "เล่าให้ฟังโดยประดิษฐ์ สุวรรณพันธ์" ซึ่งกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของตระกูล "สุวรรณพันธ์" ข้าเจ้าเห็นว่าดี และเป็นประโยชน์จึงนำมาเผยแพร่ในเว็บนี้ เพื่อเป็นการช่วยบอกเล่าให้ลูกหลานตระกูลสุวรรณพันธ์ ได้ทราบที่มา โดยขอนำคำสัมภาษณ์ในเว็บบอร์ดดังกล่าวมาเผยแพร่โดยไม่มีการตัดแปลงเสริมแต่งใดๆ เพื่อให้คงไว้ซึ่งเจตนารมย์ของผู้บอกเล่า 

     เมื่อต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  มีการกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายแม่นำโขง  ซึ่งก็คือ ประเทศลาวในปัจจุบัน ชาวผู้ไทย จากเมืองต่างๆเช่นเมืองพวน เมืองบก เมืองวัง เมืองเซโปนได้ถูกกวาดต้อนมาสร้างบ้านสร้างเมืองทางฝั่งขวาแม่นำโขงกลุ่มผู้ไทย เมืองวัง ที่อพยพข้าแม่นำโขงมาทางฝั่งขวา 
       ประมาณปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรพบุรุษต้นตระกูลสุวรรณพันธ์รวมอยู่ด้วย ข้ามแม่นำโขงมาขึ้นฝั่งแถบที่เป็นจังหวัดมุกดาหารปัจจุบันทวดของเราไม่สามารถสืบถามได้ว่าชื่ออะไร  เสียชีวิตเมื่อไร คิดว่าคงจะเสียชีวิตตั้งแต่ยังตั้งบ้านเรือนอู่ทางเมืองวัง  แต่ก็สามรถจำได้เมื่อพ่อเล่าให้ฟัง 
ถึงสมัยคุณปุ่คุณย่าของผู้เล่าเท่านั้น รุ่นคุณปู่ของผู้เล่า  มีพี่น้อง 6 คน หญิง 2  คน ชาย 4 คน 
      เมื่อถึงรัชการที่ 6 ได้ตั้งนามสกุล สุวรรพันธุ์ แปลงว่า เชื้อดี  แนวดี  พันธุ์ดี  ใครก็ต้องการเป็นผู้นำครอบครัว  ต่อมาเขียนไป เขียนมา สระ อุ หายไป เหลือแต่ สุวรรณพันธ์  การอพยพคราวนั้น  เจ้าเมืองมุกดาหารในเวลานั้น ให้ชาวผู้ไทย อพยพไปทางทิศตะวันตก ที่พื้นที่เป็นภูเขา เดินทางตามสายห้วยบังอี  ลัดป่าดงมาทางบ้านคำเขือง เหมืองบ่าไปหาทำเลที่พอสร้างบ้านได้ คนภูไทยชอบอยู่ใกล้ภูเขา และลำห้วย เพราพมีความถนัดทางการนำนา ทำไร่ ปลูกม่อน ปลูกคราม ซึ่งก็คือเมืองหนองสูง เมืองคำชะอี ในครั้งต่อมา  และยังมีคนผู้ไทยอีกหลายกลุ่มที่อพยพมาต่างเวลา ต่างสถานที่ทำกิน เช่นทางเมืองเว หรือเลณูนคร  เมืองพรรณานิคม  เมืองวาริชภูมิ เมืองกุดสิม  เมืองแซงบาดาลเมืองภูแล่นช้าง  เมืองมหาชัย  เมืองเสนางนิคม  นี่เอ่ยถึงแต่ผู้ไทยที่อาศัยในภาคอีสานเท่านั้น
     มาถึง 6 พี่น้องต้นตระกูล สุวรรณพันธ์     คือ  
                                    1.ย่าโพ  สุวรรณพันธ์  แต่งงานไปใช้นามสกุล  แสนโสม                                                                           2.ปู่เกตุ  สุวรรณพันธ์                                                                                              
                                3. ปู่แก้ว  สุวรรณพันธ์    (ปู่ของผู้เล่า)                                                                     
                                4.ย่าก้อน  สุวรรณพันธ์      แต่งงานไปใช้นามสกุลห้วยทราย                                  
                                5.ปู้แสง   สุวรรณพันธ์                                                                                             
                                6.ปู้จารย์ธรรม  สุวรรณพันธ์

ทั้งหกพี่น้อง อพยพย้ายถิ่นจากเมืองวัง พร้อมกับผู้ไทยตระกูลอื่นมาก เมื่อขึ้นฝั่งโขงทางเมืองมุกดาหาร  ได้สั่งให้ผู้ไทยอพยพต่อไปทางตะวันตก ตามสายห้วยบังอี  คือหมู่บ้านนากอก  กกแดง  อุ่มไผ่ คำอีโอก โคกกลาง  คำพี้ ป่าแสด บ้านแวง บ้านเป้า บ้านภู กลุ่มนี้อาศัยลำห้วยพุง ห้วยค้อ ที่ราบระหง่าวภูผาแดง กับภูผากูด  ภูจอก้อ สร้างบ้าน  แปงเมืองสืบมา   ส่วนที่มาตามสายบังอี คือ นาโด่ หนองนำเต้า โคกโป่งเปือย           นาตะแบง  ผาขาม วังไฮ  นาหนองแคน  หนองแต้  นาคันแท ป่าเม็ก  หนองสูง หนองโอ บ้านงิ้วเก่า  วังนอง และบ้านคำพอก  ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอหนองสูง  ส่วนกลุ่มอพยพต่อไปตามสายห้วยคันแทใหญ่ คันแทน้อย เป็นบ้านคำชะอี  นาปุ่ง ศรีมงคล  โนนสว่าง  แก้งช้างเนียม  ส่วนกลุ่มหนึ่งอพยพตามลำห้วยทราย แยกจากห้วยบังอี  ไปสร้างบ้านสร้างเมืองเอ็ดนา เอ็ดไฮ้ คือบ้านห้วยลำโมง บ้านกลาง บ้านคำบก บ้านบาก บ้านห้วยทราย  ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอคำชะอี
หกพี่น้อง  ไม่ได้อพยพมาพร้อมกับกลุ่มที่มาทางสายห้วยบังอี่  ด้วยเหตุบรรพบุรุษทางฝั่งซ้ายที่เมืองบก เมืองวัง เป็นข้ารับใช้เจ้าขุนเจ้าเมือง ด้อยผญาปัญญา จึงไม่ได้รับอนุญาตให้อพยพปะปน 
มากับกลุ่มเจ้าฟ้าเจ้าเมือง  จึงเดินทางรอนแรมผ่านป่าดงเสือ  ดงช้าง มาทางบ้านคำอาฮวน บ้านคำเขือง เหมืองบ่า นาหัวภู นาโสก เเหล่าป่าเด นาบอน  เลียบภูคันใดระหว่างบ้านบาก กับบ้านคำชะอี จนถึงหนองกะปาด มีนำ มีกะปาดมาก(สัตว์ครึ่งบกครึ่งนำคล้ายกบ ตัวเล็ก ขายาว ตีนเหนียว ต้มป่น แซ่บหลาย)จึงตั้งบ้านสร้างเมื่องทำไร่ ทำนา ตามที่ราบตีนภูผากูด ภูคันใด มาจนทุกวันนี้ อาศัยห้วยกลาง หัวยซัน  ห้วยสายนา สาขาห้วยคันแท เป็นแหล่งนำเพื่อการเพราะปลูก ระหว่างอพยพมาถึงบรืเวณ บ้านเหล่าป่าเปด  เห็นเป็นที่อุดมสมบูรณ์  มีตาน้ำ สังเกตุถ้ามีป่าบอน ที่นั่นมีน้ำ) มีสายห้วย  ปู่แสง  น้องคนที่ 5  บอกพี่ๆ และน้องว่า จะปักหลักทำไร่ ทำนา สร้างบ้านร่วมกับพี่น้องชาวผู้ไทยกลุ่มอื่นที่มาถึงก่อนแล้ว  ปู้แสงตั้งนามสกุล สุวรรณพันธ์ เหมือนพี่น้องทุกคน  จึงมีลูกหลานสุวรรณพันธ์ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน กำนันกาสิน  สุวรรณพันธ์ พร้อมลูกหลานที่บ้านเหล่าป่าเปด ตำบลนาโสก  อำเภอเมืองมุกดาหาร  คือลูกหลาน เหลน ปู่ แสง  สุวรรณพันธ์
อีก 5  พี่น้อง   อพยพต่อไปอีก ผ่านป่าเขา ดงทึบแสนอันตราย ผ่านบ้านนาบอน เลอะเลียบภูผาผึ่ง ภูไม้ไร่ ข้ามห้วยทราย มาทางบ้านบาก ข้ามภูคันได เห็นทำเลดี มีภูเขาขนาบสองข้าง พี้นที่ราบมีห้วยกลาง ห้วยซัน และเลือกทำเลสร้างบ้านที่หนองกะปาด ทางทิศเหนือของโรงเรียนในปัจจบัน  สร้างบ้าน สร้างที่อยู่อาศัย  บุกป่า ถางไม้ ทำการเกษตรเรื่อยมา ชุมชนเจริญมั่นคง ขึ้นสร้างวัด การอพยพคราวนี้มีบรรพบุรุษตระกูลแสนโสม มาพร้อมกัน  จึงมีการแต่งงานกันไปมาระหว่างสุวรรณพันธ์ กับแสนโสม เท่านั้น
อยู่มาหลายปี  ปู่จารย์ธรรม ซึ่งเป็นโสดอยู่ เนื่องจากบวชนาน ลาสิกขา ก็ขอลาพี่ลาน้องไปทำมาหากินทางแดนไต้ คนสมัยนั้นเรียกว่าไปไทย  ในระยะนั้นเมืองสาเกตุ หรือเมืองร้อยเอ็ด  กำลังเจริญรุ่งเรือง  ปู่จารยธรรม จึงเดินทางไป  เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก จึงขาดการติดต่อกับพี่ๆ  สมัยก่อนไปไทย เมื่อกลับมาจึงรู้ว่ามีชีวิตอยู่ ปู่จารย์ธรรมหายเงียบไปตั้งแต่วันนั้นไม่กลับมาที่บ้านหนองกะปาดอีกเลย  แต่ปัจจุบันทราบว่ามีผู้ใช้นามสกุล สุวรรณพันธ์ อยู่มากที่อำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด และศรีสะเกษ 
       ขอให้เป็นลูกหลาน เหลน หลอน ของปู่แสงด้วยเถอะ  ฝากให้ลูกหลานช่วยกันสืบค้นต่อด้วยนะครับ  ผู้เล่าอายุมากแล้ว

        นี้ก็คือที่มาของนามสกุล"สุวรรณพันธ์" นะครับ ต้องขอขอบพระคุณ คุณประดิษฐ์ สุวรรณพันธ์ ที่ได้เขียนเนื้อหาลงในเว็บบอร์ด http://misterfriendship.com/th/site/home_board_read.asp?id=195&boardid=10750&pagemain=1&countvisitor=yes เพื่อให้ลูกหลานได้รู้จักที่ไปที่มาของนามสกุล ทำให้เกิดความรู้สึกรัก และมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับพี่น้องร่วมตระกูล ผู้เขียนขออภัยโดยไม่ได้แจ้งขออนุญาติเจ้าของเรื่องที่นำมาเผยแพร่ แต่เจตนาคือต้องการให้ลูกหลานได้รู้จักที่มาของตัวเอง หาผิดพลากประการใด ขอความกรุณาแจ้งมายังเว็บไซต์ได้ที่ ช่องแสดงข้อความด้านล่างและผู้เขียนจะปรับปรุงต่อไปครับ

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น