เติม วิภาคย์พจนกิจ ถือกำเนิดในตระกูลท้าวเพีย ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองผู้นำท้องถิ่นแบบจารีตตั้งเดิมของเมืองอุบลราชธานี หัวเมืองเอกในภาคอีสาน บิดา คือ ท้าวหนูเล็ก สิงหัษฐิต ผู้ซึ่งต่อมาเป็นอำมาตย์ตรีพระวิภาคย์พจนกิจ กรมการเมืองอุบลราชธานีสมัยเริ่มแรกของระบบเทศาภิบาล เลขานุการส่วนพระองค์ของกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมฑลลาวกาว และ นายอำเภอพิบูลมังสาหาร
กล่าวกันว่าตระกูลสิงหัษฐิต สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าตา แห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู ด้วยเหตุดังกล่าวจึงนับอยู่ในสายสัมพันธุ์ทางเครื่อญาติกับตระกูลท้าวเพียหัวเมืองต่างๆจำนวนมากในบริเวณลุ่มแม่น้ำชี-มูลตอนล่างและรวมทั้งกับตระกูลเจ้าและท้าวเพียของลาวตอนล่าง โดยเฉพาะสายตระกูลของเจ้านครจัมปาศักดิ์
เติมเกิดเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๔๙ ที่บ้านในตัวเมืองอุบลราชธานี ได้รับการศึกษาชั้นต้นและมัธยมในระบบการศึกษาแบบใหม่ของไทยจากโรงเรียนในตัวเมือง หลักจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ คือไซ่ง่ิอนและฮานอย (พ.ศ.๒๔๖๘-๒๔๗๕) หลังจากจบการศึกษาทางด้านวิศวกรรม ก็ได้กลับมารับราชการที่ประเทศไทย และเกษียณอายุราชการจากกรมทางหลวงในปี พ.ศ.๒๕๐๙ และถึงแก่กรรมเมื่อ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๔ และมรดกที่สำคัญที่ ท่านได้มอบให้ไว้แก่วงการศึกษาไทย คือหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน เล่ม ๑-๒
**คัดลอกข้อความบางส่วนจาก หนังสือประวัติศาสตร์อีสาน
0 ความคิดเห็น