วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

พฤษภาคม 19, 2567 0 Comments

 




ที่มา:สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. http://academic.obec.go.th/web/document/view/272


ชุดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดย สพฐ

พฤษภาคม 19, 2567 0 Comments

 ชุดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดย สพฐ


การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์


แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์: ประวัติศาสตร์ชาติไทย










ประวัติศาสตร์ร่วมรากอุษาคเนย์: สานเสวนาเพื่อความเข้าใจระหว่าง วัฒนธรรมและสันติวัฒนธรรม


คู่มือกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์: ประวัติศาสตร์ไทย จะเรียนจะสอนกันอย่างไร



ที่มา: สำนักวิชการและมาตรฐานการศึกษา 
สพฐ. https://academic.obec.go.th/web/mission/view/45

หนังสือนามสกุลพระราชทานในกรุงสยาม

พฤษภาคม 19, 2567 0 Comments

  "หนังสือนามสกุลพระราชทานในกรุงสยาม" แอดมินเห็นว่าเป็นประโยชน์จึงขอบอกกล่าวเล่าต่อให้ผู้ที่สนใจทำการดาวน์โหลดไว้เพื่อศึกษา




พญามังราย หรือ พ่อขุนเมงราย อย่างไรจึงจะถูกต้อง

พฤษภาคม 19, 2567 0 Comments
     พญามังรายมหาราช ผู้สร้างเมืองเชียงราย ความในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า ปีจอ จัตวาศก ช้างมงคลของพระยาเมงรายตามช้างไปถึงดอยจอมทองแม่น้ำกกทันที ได้ทัศนาการเห็นภูมิประเทศที่นั่นเป็นภัยภูมิดีจึงได้สร้างนครไว้ที่นั่น ให้ก่อปราการโอบเอาดอยทองไว้ท่ามกลางเมืองครั้นสร้างนครไว้ ให้ก่อปราการโอบเอาดอยทองไว้กลางเมืองเมื่อสร้างเสร็จแล้ว เรียกชื่อเมืองว่าเชียงราย ตามพระรามของพระยาเมงรายผู้สร้าง

เรื่องเล่า เวียงเจียงใหม่

พฤษภาคม 19, 2567 0 Comments

     หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ได้เผยแพร่หนังสือ "เรื่องเล่า เวียงเจียงใหม่  เป็นการเล่าถึง ประวัติศาสตร์วีรกรรมของเหล่าบรรพชนล้านนา ที่ร่วมแรงร่วมใจกันก่อร่างสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น รวมถึงเหตุการณ์นานา ทั้งภายนอกและภายใน ความเจริญรุ่งเรืองอย่างก้าวหน้าของเมืองเชียงใหม่ ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี การปกครอง เศรษฐกิจการค้าที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 700 ปี จึงยังประโยชน์ และควรค่าแก่รับทราบถึงรากเหง้า และความเป็นมานี้ด้วยความภาคภูมิใจ และเป็นบทเรียนสอนใจในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แอดมินเห็นว่าเป็นประโยชน์จึงขอบอกกล่าวเล่าต่อให้ผู้ที่สนใจทำการดาวน์โหลดไว้เพื่อศึกษา



วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง

พฤษภาคม 16, 2567 0 Comments

     หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ได้เผยแพร่หนังสือ "ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง" แอดมินเห็นว่าเป็นประโยชน์จึงขอบอกกล่าวเล่าต่อให้ผู้ที่สนใจทำการดาวน์โหลดไว้เพื่อศึกษา



วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กำแพงเมืองเชียงใหม่

พฤษภาคม 13, 2567 0 Comments

     หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ได้เผยแพร่หนังสือ "กำแพงเมืองเชียงใหม่" แอดมินเห็นว่าเป็นประโยชน์จึงขอบอกกล่าวเล่าต่อให้ผู้ที่สนใจทำการดาวน์โหลดไว้เพื่อศึกษา



วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

สรุปรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 5 รูปแบบ

พฤษภาคม 12, 2567 0 Comments

     


        การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามหลักการกระจาย   อำนาจการปกครอง (Decentralization) แบ่งการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ


          1. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)  เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

          2. การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เป็นรูปแบบการปกครองที่ไม่เหมือนรูปแบบทั่วไป จะมีรูปแบบเฉพาะ และมักเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา


          จากข้อมูลสถิติจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ประเทศไทยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมกันทั้งสิ้น 7,852 แห่ง โดยจำแนกออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง เทศบาล 2,445 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 5,329 แห่ง (ข้อมูล ณ พฤศจิกายน 2562)


5 จังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุดในประเทศไทย

พฤษภาคม 12, 2567 0 Comments

       ประเทศไทยมีจังหวัดทั้งหมด 76 จังหวัด กรุงเทพมหานคร เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จึงไม่ถือว่าเป็นจังหวัด ในแต่ละจังหวัดจะมีจำนวนอำเภอไม่เท่ากัน  วันนี้ขอนำเสนอ 5 จังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุดในประเทศไทย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 












นามสกุลบ่งบอกที่มาของต้นตระกูลอย่างไร

พฤษภาคม 12, 2567 0 Comments


    นามสกุล คือ ชื่อบอกตระกูล เพื่อแสดงที่มาของบุคคลนั้น ๆ ว่ามาจากครอบครัวไหน ตระกูลใด ธรรมเนียมการใช้นามสกุลปรากฏอยู่ทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศและวัฒนธรรม ซึ่งในแต่ละที่ก็อาจจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป

เดิมทีคนไทยไม่ได้มีนามสกุล จะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่น ๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน 6,432 นามสกุล และหลายครอบครัวก็ตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้นำของครอบครัวนั้น หรือตามถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนั้น

ในบางครั้งนามสกุลก็ถูกตั้งขึ้นตามอาชีพของผู้เป็นต้นสกุลเอง ยกตัวอย่างนามสกุลดังต่อไปนี้ (คำว่าในบางครั้งหมายความว่า ไม่ทั้งหมด ไม่ได้ 100%)  


  • สืบสกุลจากเจ้าเมือง มีคำราชทินนามนำหน้า อาทิ นามสกุล นาคบุรี,รามสูต,รามบุตร,รัตนะธิยากุล อินทรสูต, พรหมเทพ, นุชนิยม ,สมานกุล เป็นต้น

  • สกุลพ่อค้า มีคำว่า วณิช หรือ วานิช หรือ เวส ประกอบในนามสกุลเช่น กมุทวณิช, วณิชาชีวะ, กัณหะเวส, คุปตะวาณิช, กฤษณวณิช, นาควานิช, กุลวานิช, เอกวานิช, เตมียาเวส, โกศัลวัฒน์ เป็นต้น


  • สกุลชาวสวน มีคำว่า ผล และ ผลิน ประกอบในนามสกุล เช่น ผลพันธิน, นิตย์อำนวยผล, ผลาชีวะ, มณฑลผลิน เป็นต้น

  • สกุลชาวนา มีคำว่า กสิกร, เกษตริน และศาลิ ประกอบในนามสกุล เช่น โพธิกสิกร, รัตกสิกร,พงษ์สาริกิจ, สนธิเกษตริน, พฤทธิศาลิกร, ศาลิคุปต เป็นต้น

  • สกุลทหารบก มีคำว่า โยธิน ประกอบในนามสกุล เช่น พหลโยธิน, พินทุโยธิน, อุตตมะโยธิน, กมลโยธิน,​ โกษะโยธิน,​ อัครโยธิน,​ วัฒนโยธิน,​อินทรโยธิน เป็นต้น

  • สกุลทหารเรือ มีคำว่า นาวิน และกลิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลนาวิน, กนกนาวิน, วิเศษนาวิน, โรหิตนาวิน, ไอศะนาวิน, อังคะนาวิน, กฤษณกลิน, สมุทรกลิน, บุญยรัตกลิน เป็นต้น

  • สกุลทหารอากาศ มีคำว่า อากาศ หรือ นภา ประกอบในนามสกุล เช่น รณนภากาศ, วุฒากาศ, อากาศไชย เป็นต้น

  • สกุลช่างสิบหมู่ มีคำว่า ศิลปิน ประกอบในนามสกุล เช่น เกียรติศิลปิน, เตมียศิลปิน เป็นต้น

  • ศิลปินโขน มีคำว่า นัฏ ประกอบในนามสกุล เช่น กานตะนัฎ, จารุนัฎ, สมรรคนัฎ เป็นต้น

  • นักดนตรี มีคำว่า วาทิน ประกอบในนามสกุล เช่น กมลวาทิน, วรวาทิน, สุนทรวาทิน เป็นต้น

  • กรมพระอัศวราช มีคำว่า อัศวิน ประกอบในนามสกุล เช่น ศวิน โกมลาศวิน, ชยาศวิน, มณฑาศวิน เป็นต้น

  • สกุลแพทย์ มีคำว่า เวช, ไวทยะ, แพทย์ ประกอบในนามสกุล เช่น บุรณเวช,โกมลเวช, สุนทรเวช, ถาวรเวช, วีระไวทยะ, พัฒนเวชวงศ์, ตีรแพทย์, ไวทยะชีวิน, มิลินทแพทย์, เวชภูติ, เวชชาชีวะ, ปิณฑะแพทย์, วิริยเวช, รัตนเวช, ไวทยะกร , นัดดาเวช เป็นต้น

  • โหรหลวง มีคำว่า โชติ ประกอบในนามสกุล เช่น โชติวิท, เศษโชติ, สุนทรโชติ, หิรัญโชติ เป็นต้น

  • พราหมณ์ มีคำว่า พราหมณ ประกอบในนามสกุล เช่น จุลละพราหมณ์, พราหมณายน, วินทุพราหมณกุล , วุฒิพราหมณ์ , รัตนพราหมณ์ เป็นต้น

 



อ้างอิง

นามสกุลพระราชทาน จากเว็ปไซต์พระราชวังพญาไทเทพ สุนทรศารทูล. นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่6 รัชกาลที่7 รัชกาลที่8 รัชกาลที่9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.                                                                        

ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติขนามนามสกุล พุทธศักราช ๒๔๕๖, เล่ม ๒๙, ตอน ๐ ก, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕, หน้า ๒๘๓

    ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้เลื่อนการใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ก, ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๕๘
    ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ การเลื่อนใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พระพุทธศักราช ๒๔๕๖, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ก, ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๔๙๓
    "จดหมายเหตุรายวัน เล่ม ๒ รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ ปีกุน จุลศักราช ๑๒๗๒ พทุธสาสนายุกาล ๒๔๕๔ วันที่ ๑๓ มกราคม ถึง วันที่ ๓๑ มินาคม," ใน จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2517. 200 หน้า. หน้า 47.